วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

คุณแม่มือใหม่ควรอ่าน! การปั๊มนมและการเก็บนมที่ปั๊มได้

สวัสดีค่ะ คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน คือว่าวันนี้จะมาเล่าถึงการเก็บนมที่ปั๊มได้และการปั้มนมอย่างไร หลังจากที่คราวที่แล้วเราพูดถึง เก็บรักษาน้ำนมแม่อย่างไร ให้อยู่ได้นานที่สุด คราวนี้ก็ขอพูดถึงการปั๊มนมและการเก็บนมที่ปั๊มได้กันดีกว่านะค่ะ



ก่อนอื่นเรามาดูกันว่านมแม่ดียังไงกับลูก ดังนี้ค่ะ

1. น้ำนมแม่นั้นย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่ท้องอืด

2. น้ำนมแม่มีภูมิต้านทานโรค สังเกตุได้ว่าลูกที่กินนมแม่นั้น จะไม่ค่อยเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร เพราะเค้าได้ภูมิคุ้มกันจากแม่ไปคะ

3. นมแม่ถูก หรือทานฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อนมชงที่มีราคาแพง ซึ้งเด็กบางรายที่ทานนมชงแล้วสามารถอาจยังทำให้เกิดอาการแพ้ได้

4. คุณแม่ที่ให้นมลูกทาน จะทำรูปร่างเข้าที่เร็วกว่าปกติคะ  คือประมาณภายใน 4 – 5 เดือนคะ

5. น้ำนมแม่ยืดโอกาสที่ลูกจะภูมิแพ้ให้ช้าขึ้น เพราะโปรตีนนมแม่เด็กจะไม่แพ้คะ

วิธีการปั๊มนม

การปั๊มนมเพื่อเก็บเป็น stock เอาไว้ให้ลูกทานนั้น จะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความอดทน พยายาม ของคุณแม่เองนะค่ะ มีคำถามว่าต้องปั๊มเท่าไหร่ ถึงจะพอ คำตอบ ตอบยากมาก

คุณแม่บางท่าน อยากให้ลูกทานนมแม่ล้วนเลย ไม่มีทานนมผสมเลย ก็ปั๊มเยอะมากค่ะ ประมาณวันละ 30 OZ  อายุ 7 เดือน ก็เลิกปั๊ม ทำให้มีนมพอทาน 5 เดือน จนครบปี ซึ่งตอนนี้คุณแม่ แต่ละท่าน ต้องคำนวณกันเองว่า วันหนึ่งลูกเรากินกี่ OZ แล้วต้องเก็บ stock เท่าไหร่ถึงจะพอ ถ้าขยันปั๊มเก็บ ก็เลิกปั๊มได้เร็วหน่อยค่ะ แต่ถ้าไม่ขยันปั๊มเก็บก็ต้องปั๊มนานหน่อย อันนี้ก็อย่างที่บอกค่ะ แล้วแต่ความพยายามของแต่ละคนนะค่ะ

1. การปั้มนมเก็บ ให้เริ่มให้เร็วที่สุดคะ พูดง่าย ๆ ถ้าผ่าคลอดเมื่อไหร่ที่เริ่มรู้สึกตัว พอพยาบาลเอาลูกมาดูดกระตุ้นแล้วให้เริ่มปั้มหลักงจากที่ลูกดูดเลยคะ ถึงแม้จะไม่มีน้ำนมก็ไม่เป็นไรคะ เค้าเรียกว่า “ปั้มลม” ปั้มทุก 2 ชม. ครั้งละ ประมาณ 20 นาทีทั้ง 2 ข้างคะ ส่วนตอนกลางคืน ทุก 3 ชม. ครั้งละ 20 นาทีเหมือนกัน ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนนมเริ่ม “establish” ก็คือ พอลูกดูดนมข้างหนึ่ง น้ำนมอีกข้างหนึ่งก็เริ่มไหลค่ะ การปั๊มนมแบบนี้ ไม่ต้องกลัวคนอื่นด่านะค่ะ ว่าไม่มีน้ำนมแล้วปั๊มทำไม เราปั๊มนมก็เพื่อเป็นการบอกเต้านมคะว่า “เธอต้องผลิตนมเพิ่มนะ นมฉันยังไม่พอ” เพราะถ้าไม่ปั้มต่อ เราจะมีนมแค่พอลูกกิน แต่จะไม่เหลือนมไว้เก็บเป็น stock คะ ก็จะมีคำถามว่า ทำไมต้องมี stock ด้วย ก็เพราะ ถ้าไม่มี stock นมไว้ เวลาคุณจะไปไหนก็จะไปไม่ได้ เพราะคุณจะต้องรีบกลับมาให้ทันเวลาลูกดื่มนม หรือไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องเอาลูกไปด้วย แต่ถ้ามี stock คุณก็ให้คนอื่น อุ่นนมให้ลูกดื่มได้คะ

2. พอนม establish แล้ว เราจะเริ่มยืดเวลาในการปั๊มให้ห่างออกไปจากทุก 2 ชม. ตอนเช้า และ 3 ชม. ตอนกลางคืน เป็น 3-4 ชม. ตอนเช้าหรือ 4-5 ชม.ตอนกลางคืนก็ได้  อันนี้ก็แล้วแต่คุณแม่แต่ละท่านคะ พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งคุณให้ลูกดูดนม แล้วก็ปั๊มเก็บมาก เต้านมก็จะผลิตนมมากตามไปด้วยคะ และน้ำหนักคุณแม่ก็จะลดลงเร็วนะคะ เวลาปั๊มนมก็ปั๊มพร้อมกัน ทั้ง 2 ข้างเลยจนรู้สึกว่าน้ำนมหมดเต้าแล้วจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็แล้วแต่คนคะ บอกไม่ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่า น้ำนมยังไม่หมดเต้า แต่ปั้มแล้วไม่ออก ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งบี้ที่หัวนมจนกระทั้งมีน้ำนมไหลออกมา ก็เริ่มปั๊มต่อได้คะ รับรองปั๊มครั้งนี้ไหลดีเหมือนเดิม



วิธีการเก็บนม จากที่เคยบอกไปแล้วนะคะ ว่าอุปกรณ์เก็บนมมีทั้งแบบขวดและแบบถุง คราวนี้ก็จะพูดถึงวิธีเก็บกันบ้าง

1. ในวันแรกที่เริ่มปั๊มน้ำนมอาจจะได้แค่ 1 OZ หรือน้อยกว่าก็ให้เอานมที่ปั๊มได้ใส่ขวดเก็บนมเอาไว้โดยเขียน วัน และเวลา เอาไว้ค่ะ อย่าลืมเอาเข้าช่อง freez พอถึงรอบที่ต้องปั๊มต่อไปก็อาจจะได้แค่ 0.5 OZ ก็เอาแค่นั้น เทใส่ลงไปในขวดเดิม ให้น้ำนมแข็งเป็นชั้นๆ กับไปไม่เป็นอะไรคะจนกว่าจะเต็มขวด แต่อย่าเต็มขวดมากนะคะเพราะ ของเหลวจะขยายตัวเมื่อแข็งตัวคะ แล้วจะทำให้ขวดแตก เก็บอย่างนี้ไปเรื่อย

*ข้อควรจำ 1 ขวดที่จะเอานมมาเก็บนั้นจะเทใส่ซ้ำได้ภายใน 24 ชม. นะค่ะ* เช่น ถ้าเริ่ม วันที่ 1 ตอน 8 โมง เราก็จะเอานมที่ปั๊มได้เทใส่กี่ครั้งก็ได้แต่ ห้ามเกิน วันที่ 2 ตอน 8โมง ค่ะ*

2. เก็บใส่ถุงน้ำนม ถุงส่วนมากจะจุได้ประมาณ 6 OZ ค่ะ แต่หญิงแนะนำให้เก็บมากสุด 5 OZ คะ เพราะถ้ามากกว่านั้นถุงอาจรั่วได้ ถุงเก็บน้ำนมไม่แนะนำให้เอานมที่ปั๊มได้ในครั้งต่อไปมาเทซ้ำ เหมือนขวดเก็บน้ำนมนะคะ เพราะน้ำนมเมื่อ freeze แล้วเวลาแกะถุงออกถุงอาจขาดได้คะ เพราะฉะนั้นถ้าเก็บไว้ 2 OZ ก็เขียนหน้าถุงไว้แค่ 2 OZ คะ ถ้าลูกไม่พอกิน ก็เอาถุงใหม่มาละลายให้ลูกทานเพิ่ม

ระยะเวลาในการเก็บน้ำนม  (เวลาอาจคลาดเคลื่อนแล้วแต่แหล่งข้อมูลคะ แต่วันนี้หญิงใช้จากประสบการณ์ตัวเอง แล้วมิกิก็ปลอดภัยดีคะ)

ตู้ freeze แช่ไอติม                    =   6 เดือน

ตู้เย็น 2 ประตู                          =    3 - 4 เดือน

ตู้เย็น ช่องธรรมดา                     =   2 วัน

กระเป๋าเก็บอุณหภูมิมี cool pack     =  8 ชม.



วิธีละลายน้ำนมมาให้ลูกทาน

การละลายน้ำนมแม่ที่แช่ช่อง freeze ออกมาให้ลูกทาน มี 2 วิธี

1. ละลายโดยเอานมจากช่อง freeze มาวางไว้ในตู้เย็นช่องความเย็นธรรมดา โดยวางทิ้งไว้ให้ตัวนมที่แข็งค่อยๆ ละลายกลายเป็นน้ำ  วิธีนี้จะช้าหน่อยนะคะ แต่ก็สะดวก เพราะไม่ต้องมาคอยนั่งดู นมที่ละลายแล้วอยู่ในตู้เย็นได้ 2 วันคะ

ข้อควรจำ     นมที่ละลายแล้วเอาไป freeze อีกรอบไม่ได้นะคะ

2. ละลายโดยเอานมที่ freeze ไว้ไปแช่น้ำธรรมดา วิธีนี้จะเร็วหน่อยแต่ต้องคอยดูไม่ให้นมละลายจนหมดหรือตั้งทิ้งไว้จนอุณหภูมินมกลายเป็นอุณหภูมิห้อง เพราะนมนั้นจะอยู่ได้แค่ 1 ชม.

นมเมื่อละลายบางส่วนแล้วให้นำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา น้ำนมก็จะมีอายุอยู่ได้ 2 วัน เหมือนกับการละลายโดยเอามาวางในตู้เย็นคะ

เมื่อละลายนมแล้วก็เทแบ่งใส่ขวดนมน้องตามปริมาณที่น้องต้องการกินคะ เช่น ละลายขวดที่เก็บนม 8 oz แต่น้องต้องการกินแค่ 30 oz ก็เทแค่ 30 oz ส่วนที่เหลือเอาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาไว้นมที่เหลืออยู่ได้ 2 วัน คะ



วิธีอุ่นนมแม่

1. อุ่นโดยนำขวดนมไปแช่ในน้ำร้อน

2. อุ่นโดยใช้เครื่องอุ่นนม

            ข้อควรระวัง -ห้ามเอานมแม่ไปอุ่นในไมโครเวฟ เพราะจะทำให้เสียคุณค่าทางอาหารและภูมิต้านทาน

- ห้ามอุ่นซ้ำ เช่น อุ่นนมแล้วแต่น้องยังไม่ทาน แต่เห็นว่านมเย็นแล้วก็อุ่นอีกที หรือน้องกินไปบางส่วนกินยังไม่หมดก็อุ่นใหม่

- นมที่น้องกินไปแล้ว ถ้าทานไม่หมดต้องทิ้งภายใน 1 ชม.



สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การให้นมแม่กับลูกน้อยสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณแม่เองนะค่ะ ว่าจะขยันและอดทนแค่ไหน การจะทำให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายคะ แต่ก็ไม่ยากเกินไปเมื่อเทียบกับสิ่งที่แม่คนหนึ่งจะให้กับลูกตนเองได้คะ

เช่น คุณแม่ต้องกินน้ำวันละ 3 ลิตร ต้องตื่นมาให้นมลูกและปั๊มนมทุก 3 - 4 ชม. ต้องเอาเครื่องปั๊มนมไปทุกที่ ที่เราไป ทำอย่างนี้จนมีนม stock เป็น 1,000 ขวด แล้วก็หยุด ปั๊มตอนมิกิ 7 - 8 เดือน หลังจากนั้น 4 - 5 เดือน  ลูกก็กินนมจาก stock ที่มีจนครบคะ คุณแม่อาจงงค่ะ ว่าทำไมต้อง มี stock เยอะๆ ก็เพราะว่าไม่มี stock เยอะ คุณแม่ก็ต้องปั๊มนมจนครบขวบไงค่ะ นมถึงจะพอให้ลูกทาน

ขอบคุณข้อมูลจาก lamoonbaby.com
Read More
loading...