วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การตั้งท้องที่สองต่างจากท้องแรกหรือไม่

คุณแม่ท้องที่สองมักรับรู้สัญญาณการตั้งครรภ์ในช่วงต้นได้ไวกว่าท้องแรก ท้องที่สองมีแนวโน้มว่าขนาดท้องจะใหญ่เร็วกว่าและมีขนาดท้องที่ใหญ่กว่าเพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องและมดลูกเคยผ่านการขยายตัวมาแล้ว ท้องที่ใหญ่ขึ้นอาจส่งผลต่อการปวดหลังและการเจ็บครรภ์ที่มากขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องที่หลวมตัวมากขึ้นจะทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการเตะของลูกได้ได้เร็วขึ้น อาจรู้สึกถึงการเตะของลูกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ การคลอดครั้งที่สองมักจะง่ายและเร็วกว่าเพราะกล้ามเนื้อต่างๆเคยหย่อนและคลายตัวตอนคลอดครั้งแรกแล้ว การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องที่หย่อนตัวกลับแข็งแรงขึ้น เพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องที่หย่อนนี้จะทำให้เกิดเจ็บท้องและปวดหลังมากขึ้น การควบคุมจังหวะชีวิตให้ช้าลงและผ่อนคลายจิตใจไม่เครียดจะช่วยลดอาการปวดหัวตอนเช้าๆ เพราะความเครียดที่เกิดจากการเลี้ยงลูกคนแรกด้วยจะทำให้หมดพลังงานได้ง่ายๆและเป็นตะคริว ดังนั้นระหว่างวันควรหยุดพักให้บ่อยขึ้น


เพิ่งคลอดได้สามเดือนแล้วตั้งท้องลูกคนใหม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร
          ร่างกายของคุณแม่ยังไม่กลับมาสมบูรณ์พร้อม แต่ต้องไม่เครียดกับการเตรียมตัว การกินอาหารร่างกายแม่อาจยังสะสมวิตามินและสารอาหารต่างๆไม่ทัน ฉะนั้นต้องกินเข้าไปชดเชยมากกว่าปกติเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และคุณลูกในครรภ์ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ โดยเน้นที่โปรตีนและธาตุเหล็ก อย่างไรก็ดีควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้อาหารเสริม ต้องตั้งเป้าเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะสม หากให้นมลูกคนแรกด้วยต้องแน่ใจว่าไม่ฝืนร่างกายคุณแม่ ถ้าร่างกายไม่ไหวควรใช้นมผงช่วยหรือหย่านมแม่เลย ต้องให้แน่ใจว่าอาหารที่แม่กินจะมีพลังงานเพียงพอสำหรับแบ่งให้ลูกที่กินนมแม่และลูกในท้องด้วย คุณแม่พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้มากกว่าคนทั่วไป หาคนมาช่วยแบ่งเบางานบ้านและงานที่ไม่จำเป็น ร่วมทั้งหาผู้ช่วยเลี้ยงลูกคนแรกด้วย


เคยมีปัญหาการคลอดก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ครั้งแรก
            เคยมีปัญหาการคลอดก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ครั้งแรก และกลัวว่าจะเกิดซ้ำในการตั้งท้องที่สอง ก่อนอื่นเมื่อตั้งครรภ์ท้องที่สองควรบอกแพทย์เมื่อฝากครรภ์ไว้ก่อนว่ามีประวัติการคลอดก่อนกำหนด แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเสริมการตั้งครรภ์ในช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 จนถึงสัปดาห์ที่ 36 เพื่อลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด โปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนของการตั้งครรภ์
Read More

โปรตีนนุ่ม CPP คืออะไร และดีต่อทารกอย่างไร

 “นมแม่” คือ นมที่ดีสุดสำหรับเด็กเล็กช่วง 1 ขวบปีแรก และควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าทีจะทำได้  แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องให้นมผงกับลูก ควรพิจารณาเลือกนมที่มี CPP โปรตีนนุ่ม และ ไขมันที่ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยสารอาหารธรรมชาติ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมพัฒนาการรอบด้านที่ดีให้กับลูกรัก และพัฒนาสมอง เด็กเล็กช่วง 1 ขวบปีแรกกระบวนการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์ โปรตีนจากนมที่ลูกดื่มต้องเป็นโปรตีนคุณภาพ มีความนุ่ม ย่อยง่ายสบายท้อง  จากการศึกษาพบว่า โปรตีนนุ่ม ( Casein phosphopeptidesหรือ CPP) เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับทารก เรามาทำควารู้จักกับสุดยอดโปรตีน โปรตีนนุ่มCPP กันค่ะ



โปรตีนนุ่ม CPP คืออะไร
โปรตีนนุ่ม หรือ Casein phosphopeptides ตัวย่อ CPP คือ โปรตีนที่มีลักษณะที่อ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ช่วยในการดูดซึมเกลือแร่ต่างๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปใช้ได้ทันที

โปรตีนนุ่ม CPP ดีต่อทารกอย่างไร 
เด็กเล็กช่วง1 ขวบปีแรก ระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ กระบวนการย่อยและการดูดซึมโปรตีนในนม เมื่ออยู่ในสภาพเป็นกรดในกระเพาะอาหารจะอยู่ในรูปก้อนโปรตีน หรือ Curd ซึ่งเป็นการจับตัวกันหลายๆ โมเลกุลของ เคซีน ซึ่งเมื่อถูกย่อยโดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร จะแตกตัวออกเป็นโมเลกุลย่อยๆ คือ Casein phosphopeptides (CPP) ซึ่งจะถูกย่อยต่อไปในลำไส้เล็ก และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในรูปกรดอะมิโน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายต่อไป เนื่องจากเด็กเล็กช่วง1 ขวบปีแรก ระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่หากเด็กได้ดื่มนมที่มีโปรตีนโมเลกุลอัดกันแน่นย่อยยาก จะส่งผลทำให้เด็กไม่สบายท้อง ร้องกวนโยเย ท้องอืด จากนมย่อยยากดูดซึมยาก ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ เด็กดื่มนมที่มีโปรตีนนุ่ม CPP จึงช่วยลดปัญหาอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องผูกได้เป็นอย่างดี

CPP โปรตีนนุ่มหาได้จากไหน
CPP โปรตีนนุ่มพบมากในนมแพะ โดยนมแพะนอกจากจะมี CPP โปรตีนนุ่มที่เพิ่มการดูดซึม แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม สู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว นมแพะยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และนมแพะยังมีระบบสร้างน้ำนมแบบ อะโพไครน์ มี Bioactive Components จากธรรมชาติในปริมาณสูงอีกด้วย



ขอบคุณข้อมูล : mamaexpert
Read More
loading...