วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เคล็ดลับดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ให้แข็งแรงสดใส

ผู้หญิงเราก่อนจะตั้งครรภ์ เราสามารถใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงเต็มที่แค่ไหนก็ได้ แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้ว การใช้ชีวิตจากนี้ก็ต้องมาพร้อมความพิถีพิถันใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง วันนี้เรามีเคล็ดลับที่จะทำให้สุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์แข็งแรงสดใสมาฝาก ต้องทำอย่างไรบ้างมาติดตามกันเลยค่ะ


กินอาหารที่มีประโยชน์ 

อยากสุขภาพแข็งแรงทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อันดับแรกก็ต้องใส่ใจเรื่องอาหารเป็นหลัก แนะนำให้เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้หลากสีสัน เนื้อสัตว์ไร้หนังหรือไม่ติดมัน โดยเฉพาะเนื้อปลา เนื้อไก่ ไข่และเครื่องในสัตว์ นอกจากนี้ อย่าลืมดื่มนมสำหรับบำรุงครรภ์ทุกวันด้วยนะคะ เพราะนมจะช่วยเสริมสร้างแคลเซียมให้คุณและทารก รวมถึงยังมีสารอาหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์หลายชนิดอีกด้วย

หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 

อาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้แก่ อาหารจำพวกหมักดอง อาหารรสชาติเผ็ดร้อน อาหารที่มีผงชูรสและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ อีกทั้งการสูบบุหรี่ก็ไม่ดีต่อสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน งดไปเลยจะดีมาก เพื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้วจะได้สุขภาพแข็งแรงไปด้วยนั่นเอง

ออกกำลังกายเบาๆ ยามตั้งครรภ์ 

เราก็สามารถออกกำลังกายได้เช่นกันนะคะอาจจะไปเดินเล่นในสวนสาธารณะตอนเช้าหรือตอนเย็น เล่นโยคะเบาๆ และการออกกำลังกายในน้ำก็นับว่าเหมาะสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อย่างยิ่ง เพราะน้ำจะโอบอุ้มร่างกายคุณแม่เอาไว้ ทำให้ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในขณะออกกำลังกาย เป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนัก แต่กลับช่วยให้คุณรู้สึกแช่มชื่นเย็นสบายอย่างมากทีเดียว

สุดท้ายนี้ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอและการนอนพักกลางวันด้วย รวมถึงการทำใจให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ไม่เครียดก็เป็นปัจจัยพื้นฐานง่ายๆ ที่จะทำให้สุขภาพคุณแม่แข็งแรงสดใส ทำให้ลูกน้อยคลอดออกมาสมบูรณ์และเป็นเด็กเริงร่าเลี้ยงง่ายด้วยค่ะ
Read More

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

สมองของทารกแรกเกิดมีขนาดเพียง1/4 ของสมองผู้ใหญ่เท่านั้น ทารกต้องการการเลี้ยงดูและสารอาหารที่เหมาะสมในช่วงอายุ3ปีแรก เพื่อให้สมองมีการเจริญพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละคน โครงสร้างสมองแบ่งเป็นส่วนๆตามการทำหน้าที่ สมองชั้นนอก สมองส่วนหน้า สมองส่วนหลัง สมองชั้นในและก้านสมอง เซลล์ประสาทในสมองจำนวนนับล้านล้านเซลล์มีการติดต่อสื่อสารส่งสัญญาณกัน ผ่านเส้นใยประสาท เกิดเป็นวงจรในสมองมากมาย นมแม่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองลูก เพราะ



 1.การอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมแม่ทำให้ประสาทสัมผัสทุกส่วนของทารกได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่กินนมแม่ 
2. เมื่อแม่อุ้มลูกขึ้นดูดนนมแม่ มีการส่งสัญญาณประสาทที่ผิวหนัง ที่ดวงตา ที่หู ลิ้น. ทุกส่วนล้วนสัมพันธ์กัน ทำให้ทารกมีปฏิกริยาสนองตอบ เกิดวงจรประสาทใหม่ๆขึ้นตลอดเวลา 
3. สารอาหารในน้ำนมแม่มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาท เปรียบเทียบเส้นใยประสาทกับสายไฟฟ้า. สายไฟฟ้า จะมีฉนวนหุ้มอยู่ข้างนอกเพื่อให้ส่งไฟฟ้าได้ดี เส้นใยประสาทก็เช่นกันมีแผ่นไขมันหุ้มอยู่โดยรอบ เพื่อให้การส่งสัญญาณประสาทมีประสิทธิภาพ 

สารอาหารในน้ำนมแม่นี่แหละที่ช่วยการสร้างแผ่นไขมันนี้ :

Cholesterol. DHA และไขมันอื่นๆช่วยกันสร้างแผ่นไขมัน (myelin sheath) Sialic acid ในรูปของ ganglioside พบสูงมากที่บริเวณเชื่มต่อของปลายประสาท น้ำนมแม่มีกรด Sialic สูงถึง 0.3-1.5mg/ml Taurine. เป็นกรดอะมิโนอิสระที่พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาท ช่วยฟื้นฟูจอประสาทตา สารอาหารที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีสารประกอบอีกมากมายในน้ำนมแม่ ที่ประสานการทำงาน และรวมพลังกัน ไม่ได้มีตัวใดตัวหนึ่งเป็นพระเอก ดังนั้น การที่นมผงกล่าวว่า ได้เติมสารนั้นนี้ตามที่มีในน้ำนมแม่ ก็ไม่ได้แปลว่า สารเหล่านั้นจะทำงานได้เหมือนในน้ำนมแม่ เพราะ ขาดส่วนประกอบอื่นอีกมากมายที่จะมาทำงานด้วยกัน เรื่องนมแม่ ไม่มีใครเป็นฮีโร่เพียงคนเดียวค่ะ เราช่วยเหลือ ร่วมกันทำงาน จึงเกิดเป็นพลังขึ้นมาได้ สารอาหาร และส่วนประกอบในน้ำนมแม่ ต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกของเราค่ะ

ที่มา -- มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
Read More

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

แพทย์สวีเดน-อังกฤษเตรียมทดลองฉีดเซลล์ต้นกำเนิดรักษาโรคให้ทารกในครรภ์

แพทย์จากสวีเดนและอังกฤษเตรียมทำการทดลองทางคลินิกครั้งแรกของโลกในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากตัวอ่อนมนุษย์ ฉีดเข้าไปในทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคกระดูกเปราะแต่กำเนิด


การทดลองครั้งนี้จะเริ่มขึ้นในเดือน ม.ค.ปีหน้า นำโดยสถาบันคาโรลินสกา ของสวีเดน และโรงพยาบาลเกรท ออร์มอนด์ สตรีท ในสหราชอาณาจักร โดยแพทย์จะใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นกระดูก, กระดูกอ่อน และกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มาฉีดให้ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 20-34 สัปดาห์ จำนวน 15 คน แล้วจะฉีดเซลล์ต้นกำเนิดดังกล่าวอีกครั้งหลังจากเด็กคลอดออกมา
คาดว่าเซลล์จะช่วยให้กระดูกของทารกเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม จากนั้นแพทย์จะทำการเปรียบเทียบสภาวะการเกิดกระดูกแตกหักกับเด็กอีก 15 คนที่ได้รับการรักษาภายหลังการเกิดเพียงอย่างเดียว และเด็กอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาเลย

ทั้งนี้ โรคกระดูกเปราะแต่กำเนิด ส่งผลกระทบต่อเด็กราว 1 ใน 25,000 คนที่คลอดออกมา และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเด็กเกิดมาโดยมีกระดูกที่แตกเปราะหลายจุด ส่วนเด็กที่รอดชีวิตก็จะมีปัญหากระดูกแตกหักได้สูงถึง 15 ครั้งต่อปี, ฟันเปราะบาง มีปัญหาด้านการได้ยิน และการเจริญเติบโต
ดร.เซซิเลีย เยอเตอร์สเตริม จากสถาบันคาโรลินสกา บอกว่า หากการทดลองครั้งนี้สามารถช่วยลดปัญหากระดูกแตกหัก, เสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง และพัฒนาการเจริญเติบโตของผู้ป่วยก็จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวง อีกทั้งยังจะช่วยเปิดทางไปสู่การรักษาโรคอื่น ๆ ตั้งแต่ช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ และจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคกล้ามเนื้อและโรคกระดูกอื่น ๆต่อไปในอนาคต
ด้าน ดร.ดัสโก อิลิค ผู้เชี่ยวชาญจากคิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน เตือนว่า การที่ผู้ป่วยโรคกระดูกเปราะแต่กำเนิดแต่ละคนมีอาการของโรคที่หลากหลายและแตกต่างกันมากนั้น อาจทำให้เป็นการยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าการรักษาด้วยวิธีนี้มีประสิทธิภาพเพียงใด

ที่มา - bbc.com ผ่าน บีบีซีไทย - BBC Thai
Read More

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

คุณแม่มือใหม่ควรอ่าน! การปั๊มนมและการเก็บนมที่ปั๊มได้

สวัสดีค่ะ คุณแม่มือใหม่ทุกท่าน คือว่าวันนี้จะมาเล่าถึงการเก็บนมที่ปั๊มได้และการปั้มนมอย่างไร หลังจากที่คราวที่แล้วเราพูดถึง เก็บรักษาน้ำนมแม่อย่างไร ให้อยู่ได้นานที่สุด คราวนี้ก็ขอพูดถึงการปั๊มนมและการเก็บนมที่ปั๊มได้กันดีกว่านะค่ะ



ก่อนอื่นเรามาดูกันว่านมแม่ดียังไงกับลูก ดังนี้ค่ะ

1. น้ำนมแม่นั้นย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่ท้องอืด

2. น้ำนมแม่มีภูมิต้านทานโรค สังเกตุได้ว่าลูกที่กินนมแม่นั้น จะไม่ค่อยเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร เพราะเค้าได้ภูมิคุ้มกันจากแม่ไปคะ

3. นมแม่ถูก หรือทานฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อนมชงที่มีราคาแพง ซึ้งเด็กบางรายที่ทานนมชงแล้วสามารถอาจยังทำให้เกิดอาการแพ้ได้

4. คุณแม่ที่ให้นมลูกทาน จะทำรูปร่างเข้าที่เร็วกว่าปกติคะ  คือประมาณภายใน 4 – 5 เดือนคะ

5. น้ำนมแม่ยืดโอกาสที่ลูกจะภูมิแพ้ให้ช้าขึ้น เพราะโปรตีนนมแม่เด็กจะไม่แพ้คะ

วิธีการปั๊มนม

การปั๊มนมเพื่อเก็บเป็น stock เอาไว้ให้ลูกทานนั้น จะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความตั้งใจ ความอดทน พยายาม ของคุณแม่เองนะค่ะ มีคำถามว่าต้องปั๊มเท่าไหร่ ถึงจะพอ คำตอบ ตอบยากมาก

คุณแม่บางท่าน อยากให้ลูกทานนมแม่ล้วนเลย ไม่มีทานนมผสมเลย ก็ปั๊มเยอะมากค่ะ ประมาณวันละ 30 OZ  อายุ 7 เดือน ก็เลิกปั๊ม ทำให้มีนมพอทาน 5 เดือน จนครบปี ซึ่งตอนนี้คุณแม่ แต่ละท่าน ต้องคำนวณกันเองว่า วันหนึ่งลูกเรากินกี่ OZ แล้วต้องเก็บ stock เท่าไหร่ถึงจะพอ ถ้าขยันปั๊มเก็บ ก็เลิกปั๊มได้เร็วหน่อยค่ะ แต่ถ้าไม่ขยันปั๊มเก็บก็ต้องปั๊มนานหน่อย อันนี้ก็อย่างที่บอกค่ะ แล้วแต่ความพยายามของแต่ละคนนะค่ะ

1. การปั้มนมเก็บ ให้เริ่มให้เร็วที่สุดคะ พูดง่าย ๆ ถ้าผ่าคลอดเมื่อไหร่ที่เริ่มรู้สึกตัว พอพยาบาลเอาลูกมาดูดกระตุ้นแล้วให้เริ่มปั้มหลักงจากที่ลูกดูดเลยคะ ถึงแม้จะไม่มีน้ำนมก็ไม่เป็นไรคะ เค้าเรียกว่า “ปั้มลม” ปั้มทุก 2 ชม. ครั้งละ ประมาณ 20 นาทีทั้ง 2 ข้างคะ ส่วนตอนกลางคืน ทุก 3 ชม. ครั้งละ 20 นาทีเหมือนกัน ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนนมเริ่ม “establish” ก็คือ พอลูกดูดนมข้างหนึ่ง น้ำนมอีกข้างหนึ่งก็เริ่มไหลค่ะ การปั๊มนมแบบนี้ ไม่ต้องกลัวคนอื่นด่านะค่ะ ว่าไม่มีน้ำนมแล้วปั๊มทำไม เราปั๊มนมก็เพื่อเป็นการบอกเต้านมคะว่า “เธอต้องผลิตนมเพิ่มนะ นมฉันยังไม่พอ” เพราะถ้าไม่ปั้มต่อ เราจะมีนมแค่พอลูกกิน แต่จะไม่เหลือนมไว้เก็บเป็น stock คะ ก็จะมีคำถามว่า ทำไมต้องมี stock ด้วย ก็เพราะ ถ้าไม่มี stock นมไว้ เวลาคุณจะไปไหนก็จะไปไม่ได้ เพราะคุณจะต้องรีบกลับมาให้ทันเวลาลูกดื่มนม หรือไม่อย่างนั้นคุณก็ต้องเอาลูกไปด้วย แต่ถ้ามี stock คุณก็ให้คนอื่น อุ่นนมให้ลูกดื่มได้คะ

2. พอนม establish แล้ว เราจะเริ่มยืดเวลาในการปั๊มให้ห่างออกไปจากทุก 2 ชม. ตอนเช้า และ 3 ชม. ตอนกลางคืน เป็น 3-4 ชม. ตอนเช้าหรือ 4-5 ชม.ตอนกลางคืนก็ได้  อันนี้ก็แล้วแต่คุณแม่แต่ละท่านคะ พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งคุณให้ลูกดูดนม แล้วก็ปั๊มเก็บมาก เต้านมก็จะผลิตนมมากตามไปด้วยคะ และน้ำหนักคุณแม่ก็จะลดลงเร็วนะคะ เวลาปั๊มนมก็ปั๊มพร้อมกัน ทั้ง 2 ข้างเลยจนรู้สึกว่าน้ำนมหมดเต้าแล้วจะใช้เวลาเท่าไหร่ก็แล้วแต่คนคะ บอกไม่ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่า น้ำนมยังไม่หมดเต้า แต่ปั้มแล้วไม่ออก ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งบี้ที่หัวนมจนกระทั้งมีน้ำนมไหลออกมา ก็เริ่มปั๊มต่อได้คะ รับรองปั๊มครั้งนี้ไหลดีเหมือนเดิม



วิธีการเก็บนม จากที่เคยบอกไปแล้วนะคะ ว่าอุปกรณ์เก็บนมมีทั้งแบบขวดและแบบถุง คราวนี้ก็จะพูดถึงวิธีเก็บกันบ้าง

1. ในวันแรกที่เริ่มปั๊มน้ำนมอาจจะได้แค่ 1 OZ หรือน้อยกว่าก็ให้เอานมที่ปั๊มได้ใส่ขวดเก็บนมเอาไว้โดยเขียน วัน และเวลา เอาไว้ค่ะ อย่าลืมเอาเข้าช่อง freez พอถึงรอบที่ต้องปั๊มต่อไปก็อาจจะได้แค่ 0.5 OZ ก็เอาแค่นั้น เทใส่ลงไปในขวดเดิม ให้น้ำนมแข็งเป็นชั้นๆ กับไปไม่เป็นอะไรคะจนกว่าจะเต็มขวด แต่อย่าเต็มขวดมากนะคะเพราะ ของเหลวจะขยายตัวเมื่อแข็งตัวคะ แล้วจะทำให้ขวดแตก เก็บอย่างนี้ไปเรื่อย

*ข้อควรจำ 1 ขวดที่จะเอานมมาเก็บนั้นจะเทใส่ซ้ำได้ภายใน 24 ชม. นะค่ะ* เช่น ถ้าเริ่ม วันที่ 1 ตอน 8 โมง เราก็จะเอานมที่ปั๊มได้เทใส่กี่ครั้งก็ได้แต่ ห้ามเกิน วันที่ 2 ตอน 8โมง ค่ะ*

2. เก็บใส่ถุงน้ำนม ถุงส่วนมากจะจุได้ประมาณ 6 OZ ค่ะ แต่หญิงแนะนำให้เก็บมากสุด 5 OZ คะ เพราะถ้ามากกว่านั้นถุงอาจรั่วได้ ถุงเก็บน้ำนมไม่แนะนำให้เอานมที่ปั๊มได้ในครั้งต่อไปมาเทซ้ำ เหมือนขวดเก็บน้ำนมนะคะ เพราะน้ำนมเมื่อ freeze แล้วเวลาแกะถุงออกถุงอาจขาดได้คะ เพราะฉะนั้นถ้าเก็บไว้ 2 OZ ก็เขียนหน้าถุงไว้แค่ 2 OZ คะ ถ้าลูกไม่พอกิน ก็เอาถุงใหม่มาละลายให้ลูกทานเพิ่ม

ระยะเวลาในการเก็บน้ำนม  (เวลาอาจคลาดเคลื่อนแล้วแต่แหล่งข้อมูลคะ แต่วันนี้หญิงใช้จากประสบการณ์ตัวเอง แล้วมิกิก็ปลอดภัยดีคะ)

ตู้ freeze แช่ไอติม                    =   6 เดือน

ตู้เย็น 2 ประตู                          =    3 - 4 เดือน

ตู้เย็น ช่องธรรมดา                     =   2 วัน

กระเป๋าเก็บอุณหภูมิมี cool pack     =  8 ชม.



วิธีละลายน้ำนมมาให้ลูกทาน

การละลายน้ำนมแม่ที่แช่ช่อง freeze ออกมาให้ลูกทาน มี 2 วิธี

1. ละลายโดยเอานมจากช่อง freeze มาวางไว้ในตู้เย็นช่องความเย็นธรรมดา โดยวางทิ้งไว้ให้ตัวนมที่แข็งค่อยๆ ละลายกลายเป็นน้ำ  วิธีนี้จะช้าหน่อยนะคะ แต่ก็สะดวก เพราะไม่ต้องมาคอยนั่งดู นมที่ละลายแล้วอยู่ในตู้เย็นได้ 2 วันคะ

ข้อควรจำ     นมที่ละลายแล้วเอาไป freeze อีกรอบไม่ได้นะคะ

2. ละลายโดยเอานมที่ freeze ไว้ไปแช่น้ำธรรมดา วิธีนี้จะเร็วหน่อยแต่ต้องคอยดูไม่ให้นมละลายจนหมดหรือตั้งทิ้งไว้จนอุณหภูมินมกลายเป็นอุณหภูมิห้อง เพราะนมนั้นจะอยู่ได้แค่ 1 ชม.

นมเมื่อละลายบางส่วนแล้วให้นำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา น้ำนมก็จะมีอายุอยู่ได้ 2 วัน เหมือนกับการละลายโดยเอามาวางในตู้เย็นคะ

เมื่อละลายนมแล้วก็เทแบ่งใส่ขวดนมน้องตามปริมาณที่น้องต้องการกินคะ เช่น ละลายขวดที่เก็บนม 8 oz แต่น้องต้องการกินแค่ 30 oz ก็เทแค่ 30 oz ส่วนที่เหลือเอาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาไว้นมที่เหลืออยู่ได้ 2 วัน คะ



วิธีอุ่นนมแม่

1. อุ่นโดยนำขวดนมไปแช่ในน้ำร้อน

2. อุ่นโดยใช้เครื่องอุ่นนม

            ข้อควรระวัง -ห้ามเอานมแม่ไปอุ่นในไมโครเวฟ เพราะจะทำให้เสียคุณค่าทางอาหารและภูมิต้านทาน

- ห้ามอุ่นซ้ำ เช่น อุ่นนมแล้วแต่น้องยังไม่ทาน แต่เห็นว่านมเย็นแล้วก็อุ่นอีกที หรือน้องกินไปบางส่วนกินยังไม่หมดก็อุ่นใหม่

- นมที่น้องกินไปแล้ว ถ้าทานไม่หมดต้องทิ้งภายใน 1 ชม.



สุดท้ายนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การให้นมแม่กับลูกน้อยสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับตัวคุณแม่เองนะค่ะ ว่าจะขยันและอดทนแค่ไหน การจะทำให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายคะ แต่ก็ไม่ยากเกินไปเมื่อเทียบกับสิ่งที่แม่คนหนึ่งจะให้กับลูกตนเองได้คะ

เช่น คุณแม่ต้องกินน้ำวันละ 3 ลิตร ต้องตื่นมาให้นมลูกและปั๊มนมทุก 3 - 4 ชม. ต้องเอาเครื่องปั๊มนมไปทุกที่ ที่เราไป ทำอย่างนี้จนมีนม stock เป็น 1,000 ขวด แล้วก็หยุด ปั๊มตอนมิกิ 7 - 8 เดือน หลังจากนั้น 4 - 5 เดือน  ลูกก็กินนมจาก stock ที่มีจนครบคะ คุณแม่อาจงงค่ะ ว่าทำไมต้อง มี stock เยอะๆ ก็เพราะว่าไม่มี stock เยอะ คุณแม่ก็ต้องปั๊มนมจนครบขวบไงค่ะ นมถึงจะพอให้ลูกทาน

ขอบคุณข้อมูลจาก lamoonbaby.com
Read More

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อย่าถ่ายรูปทารกน้อยโดยเปิดแฟลช อาจทำให้ทารกเป็นแบบนี้

ทารกวัย 3 เดือน ตาบอดสนิท เนื่องจากถ่ายรูปโดยลืมปิดแฟลช



เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมาเว็บไซต์สื่อนอกเผยเรื่องสุดสลดใจของเด็กทารกน้อยไม่ทราบชื่อวัย 3 เดือน หลังจากเพื่อนของครอบครัวใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายทารกในระยะใกล้เพียงแค่ 25 เซนติเมตรและลืมปิดแฟลช จากนั้นไม่นานนัก พ่อ-แม่ของทารกน้อยรายนี้ ก็สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติกับการมองเห็นของลูกน้อย จึงนำส่งโรงพยาบาลทันที

ภายหลังการตรวจทางแพทย์ระบุว่า ดวงตาของทารกน้อยรายนี้ได้รับความเสียหายแบบถาวรและไม่สามารถศัลยกรรมแก้ไขได้ เนื่องจากแสงแฟลชที่ได้รับในระยะใกล้มีความเข้มของแสงมากจึงทำลายเซลล์บริเวณมาคูลา หรือกลางจอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ตาใช้ในการโฟกัสแสง อีกทั้งบริเวณมาคูลาจะยังไม่สมบูรณ์เต็มที่จนกว่าเด็กจะอายุได้ 4 ขวบ ยิ่งเป็นเด็กทารกจึงมีความบอบบางมาก ดังนั้นความเสียหายที่ทารกน้อยได้รับจึงทำให้ศูนย์เสียการมองเห็นส่วนกลาง เป็นเหตุให้ตาซ้ายสามารถมองเห็นได้น้อยลง ส่วนตาขวานั้นบอดสนิท

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลว่า  การใช้แฟลชถ่ายรูป จะทำให้เด็กทารกตาบอดจริงหรือไม่นั้น ... คำตอบคือ "ไม่จริง"  เนื่องจากจริงๆแล้วเด็กทารกนั้นได้รับการปกป้องจากแสงแฟลชยิ่งกว่าผู้ใหญ่เสียอีก เพราะเด็กๆ จะไม่ค่อยสนใจในการถ่ายรูปและจะไม่จ้องตรงไปที่กล้อง ยิ่งกว่านั้น ดวงตาของเด็กทารกจะมีม่านตาที่แคบกว่าของผู้ใหญ่ และทำให้แสงเข้าไปยังเรติน่าน้อยกว่า แสงแฟลชจากกล้อง ถึงจะถ่ายหลายๆ ครั้ง ก็ไม่ได้ทำอันตรายกับสายตาของเด็ก เพราะถึงมันจะดูเหมือนว่าจ้ามาก แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้มากไปกว่าแสงแดดธรรมดาเลย

อย่างไรก็ตามถึงแม้แสงแฟลชจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อดวงตาของลูกน้อยมากนัก แต่คุณพ่อคุณแม่ ก็ควรระมัดระวังไว้จะดีกว่านะคะ

ภาพจาก http://kanlaizhou.net
Read More

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิธีดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อเป็นไข้หวัด

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเช้าร้อน เย็นฝนตก เช้าฝนตกเย็นร้อน สงสารก็แต่เจ้าตัวน้อยๆ ที่ต้องตั้งท่ารับการเปลี่ยนแปลงของอากาศช่วงนี้เลยนำเกร็ดความรู้ในการดูแลหนูน้อยหากเป็นหวัดมาฝากค่ะ

เมื่อเจ้าตัวเล็กเป็นหวัด โรคหวัด เรียกว่า เกิดมาคู่กับเด็กเล็กเลยก็ว่าได้...

เมื่อลูกน้อยเป็นไข้หวัด มักต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าผู้ใหญ่ เวลาที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง บางทีอากาศแห้งหรืออากาศชื้น เด็กเล็กร่างกายบอบบาง ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย ร่างกายจึงมีการตอบสนองโดยสร้างน้ำมูกออกมา ป้องกันมิให้ช่องทางเดินหายใจแห้งเกินไป และเด็กเล็กไม่สามารถ จะช่วยเหลือตัวเองที่จะสั่งน้ำมูกออกมาเองได้ ทำให้ทางเดินหายใจติดขัด ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทราบการดูแลเด้กที่เป็นหวัดเบื้องต้น และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นไว้ใช้ได้ทันทียามฉุกเฉิน เวลาที่ลูกน้อยไม่สบายในเวลากลางคืน หรือไปต่างจังหวัดก็สามารถดูแลลูกน้อย ด้วยวิธีการและอุปกรณ์พื้นฐานที่เราเตรียมการไว้ล่วงหน้าได้

การสังเกตว่าเด็กเป็นหวัด..

เมื่อเด็กเล็กเริ่มเป็นหวัดมักมีน้ำมูกใสไหลออกมาและมีอาการแน่น คัดจมูก หายใจไม่สะดวก ไอ จาม และมักมีตัวร้อนร่วมด้วย อาจมีอาเจียน คลื่นไส้ ร้องกวน เบื่ออาหาร และไม่ยอมดูดนม ส่วนในเด็กโตอาจมีเพียงไข้ต่ำๆ รู้สึกร้อนในจมูก คอแห้ง หรือเจ็บคอ ไอ จาม คัดจมูก และมีน้ำมูกใส

การดูแลเด็กที่เป็นโรคหวัดนั้น โดยทั่วไปเป็นการดูแลตามอาการ การดูแลเบื้องต้นเมื่อพบว่าเด็กเป็นหวัดในระยะแรก ได้แก่ การเช็ดตัวระบายความร้อนในร่างกาย โดยเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนาน 10-15 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิร่างกายของเด็ก หากไข้ไม่ลดใน 24 ชม. ต้องรีบพามาพบแพทย์ และให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาให้โดยเฉพาะในเด็กทารากไม่ควรซื้อยาใช้เอง เนื่องจากเราจะไม่ทราบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการรักษา ทั้งยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ทำให้เป็นอันตรายได้ และไม่ควรให้ยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน เนื่องจากต้องได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกหรือไม่ เพราะหากรับแอสไพรินเข้าไปจะทำให้เด็กเป็นอันตรายได้

การดูแลเด็กเป็นหวัดที่บ้าน
โรคหวัดเป็นโรคที่พ่อแม่ดูแลเองได้ แต่ต้องคอยระวังโรคแทรกซ้อนและคอยสังเกตการหายใจ โดยทำได้ดังนี้
ลดไข้ - เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนาน 10-15 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ให้ยาลดไข้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมงในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 เดือน หากไข้ลดก็ไม่จำเป็นต้องกินยา
ระบายน้ำมูก/ลดน้ำมูก - การลดน้ำมูกเพื่อให้โพรงจมูกโล่ง ช่วยให้เด็กสามารถหายใจได้ดี ในทารกถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากมีน้ำมูกอุดตันทางเดินหายใจหรือรูจมูกอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต


1. ใช้ผ้านุ่มม้วนปลายแหลมสอดในรูจมูกซับน้ำมูก
2.  ดูดออกด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
- หลอดดูสายยางที่ได้มาตรฐานราคาของหลอดดูดน้ำมูกแบบสายยาง ไม่สูงมาก ควบคุมแรงดูดด้วยตัวผู้ดูด ควรเลือกแบบที่มีใส่กรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันการส่งเชื้อสู่กันระหว่างหนูน้อยกับผู้ดูด

- เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ
         
             เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ ราคาสูงกว่าแบบทั่วไป ควบคุมแรงดูดสม่ำเสมอด้วยตัวเครื่อง ใช้งานได้ดีและง่าย ไม่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเชื้อโรคสู่กัน เมื่อเด็กชินสามารถถือดูดได้เอง เมื่อรู้สึกมีน้ำมูก ไม่เสี่ยงต่อการสั่งน้ำมูกแรงเกินไป ซื่งจะมีผลกับเยื่อแก้วหู

แนะนำ ** เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ ZOLI ได้รับการทดสอบแล้วจากผู้ใช้ว่าใช้งานได้จริง ** 

3. ให้ยาลดไข้และยาลดน้ำมูกที่ปราศจากแอสไพริน และแอลกอฮอลล์ ให้ เด็กหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไข้หวัดมักหายได้เองภายใน 1-5วัน ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากเป็นหวัดหลายวัน แล้วกลับมามีไข้ขึ้นควรนึกว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งต้องขอคำปรีกษาจากแพทย์

***พร้อมทั้งให้งดอาบน้ำ ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ ถ้ายังมีไข้สูงหลังจากให้ยา 24 ชั่วโมง ต้องพาลูกไปให้แพทย์ตรวจ อาจจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพราะ อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปวดหู - หูชั้นกลางอักเสบ หรือ อาจเกิดหูน้ำหนวก ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวมได้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

การป้องกันโรคหวัด ควรปฏิบัติ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
     - เด็กเล็กๆ ไม่ควรคลุกคลีกับผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อ
     - ไม่พาเด็กเล็กไปสถานที่แออัด
     - หลีกเลี่ยงมลพิษ เช่น ควันไฟ ควันบุหรี่
     - ไม่กระทบความเย็นจัด หรือร้อนจัด
2. เพิ่มภูมิต้านทานให้เด็กแข็งแรง
     - เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
     - กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
     - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
     - ให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


NoseFrida หาซื้อได้ที่แผนกเด็กอ่อนหรือร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็กชั้นนำ


Zoli Nasal Aspirator หาซื้อได้ที่แผนกเด็กอ่อนหรือร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็กชั้นนำ

เรียบเรียงและรวบรวมโดย บจก. โกรว วิธ เลิฟ
Read More

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ขอหนังสือแม่ทำงานให้นมลูก ดาวน์โหลดฟรี!!

สำหรับคุณแม่ไม่ควรพลาด วันนี้ก็มีหนังสือดีมาแนะนำกันค่ะ  ซึ่งหนังสือที่มีแจกเป็นเล่มมีเฉพาะ "ให้ลูกกินนมกระป๋อง...แน่ใจหรือ" นะคะ เล่มอื่นๆ ไม่มีเป็นเล่มแจกค่ะ มีไฟล์ให้ Download เท่านั้นค่ะ


ให้ลูกกินนมกระป๋อง แน่ใจหรือ?

สิ่งที่พ่อแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารก

Free Download









เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้นมแม่มิใช่เป็นเพียงการให้อาหารเพื่อบำรุงร่างกายของลูก แต่เป็นกระบวนการของชีวิตในการสืบทอดทั้งความรัก ความห่วงหาอาทร และความผูกพันอันเป็นอาหารทางใจแก่ลูกด้วย และนอกจากน้ำนมแม่จะเป็นการให้อาหารแล้วยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค มีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อโรคได้อีกด้วย


Free Download





นมแม่... ทุนสมองของลูกรัก

การให้นมและน้ำนมแม่สร้างภูมิคุ้มกันและโรคภูมิแพ้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อลูกรักได้เริ่มต้นชีวิตที่มีสุขภาพดีทั้งกายใจ มีพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ที่ดีพร้อมเติบโตอยู่ในสังคมได้อย่างงดงาม เต็มคุณค่ามีทุนสุขภาพกายของลูก ทุนสุขภาพใจของลูก มีเชาว์ปัญญาของลูก มีความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมวัย Free Download




นมแม่ : Key Word กุญแจไขปัญหาเรื่องนมแม่สำหรับบุคลากรสาธารณสุขให้คำปรึกษากับคุณแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์และคุณค่ามหาศาล และยังเป็นทุนเลี้ยงดูเบื้องต้นต่อการพัฒนาการด้านสติปัญญา สมอง อารมณ์ ช่วยทำให้ลูกมีโอกาสเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมด้วยวุฒิปัญญา อารมณ์ คุณธรรม ความอดกลั้น และประสบผลสำเร็จในชีวิตข้างหน้า แต่จากสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนไป ทำให้มีอุปสรรคหลายอย่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
Free Download





เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้..สู่ปฏิบัติ

ปัจจุบันการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ต้องให้อาหารอย่างอื่น เป็นเวลา 3-4 เดือน แต่ปัจจุบันสาวโรงงานส่วนใหญ่ลางานเพียง 1 เดือนแล้วส่งลูกไปให้ปู่ย่า ตายาเลี้ยงดูในต่างจังหวัดทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีน้อย การดูแลสุขภาพคนท้อง ปัญหาและคำถามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณค่าน้ำนมแม่ ข้อห้ามและข้อควรระวังการให้นมแม่ น้ำนมแม่ป้องกันโรคภูมิแพ้ โรคเรื้อรังเนื่องจากในน้ำนมแม่มีไขมัน กรดอะมิโน นิวคลีโดไทด์ ไซโตไคน์ ธาตุเหล็กกับวิตามินเค
Free Download




ถาม ตอบ : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอน เมื่ออยู่ในโรงพยาบาล

รวบรวมคำถาม และคำตอบเกี่ยวกับการให้นมลูก และการปฏิบัติตัวขณะอยู่ในโรงพยาบาล

Free Download







ถาม ตอบ : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอน เมื่อกลับบ้าน


รวบรวมคำถาม และคำตอบเกี่ยวกับการให้นมลูกในระยะที่แม่กลับมาพักอยู่ที่บ้านแล้ว


Free Download






ที่มา: breastfeedingthai
Read More

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เก็บรักษาน้ำนมแม่อย่างไร ให้อยู่ได้นานที่สุด

สวัสดีค่ะคุณแม่มือใหม่ทุกท่าน หัวข้อนี้จะเป็นการแนะนำการเก็บรักษาน้ำนมแม่ ซึ่งเก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้  หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ  ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน และพอจะทราบบ้างไหมค่ะ ว่าจะเก็บรักษาแบบไหนให้อยู่นานที่สุด มาดูกันค่ะ



สถานที่เก็บ
อุณหภูมิ
ระยะเวลาเก็บ
ตั้งทิ้งไว้
27-32 C
3-4 ช.ม.
ตั้งทิ้งไว้
16-26 C
4-8 ช.ม.
กระติกใส่น้ำแข็ง
15 C
24 ช.ม.
ตู้เย็นช่องธรรมดา
0-4 C
3-8 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว 
2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู
  -4 C
4-6 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ
-19 C
6-12 เดือน
   
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง สายด่วนคลีนิคนมแม่ ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้


- เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้  ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.) ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็แกว่งเป็นวงกลมเบาๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากัน แล้วป้อนได้เลย  แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ใน นมแม่

-ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น

-นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ

-น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น

-ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่

-สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊มออกมาใหม่ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก

-ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ  ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)

-น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว  อาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย)

หมายเหตุ

คำแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ข้างต้น เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้  สิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากคำแนะนำดังกล่าว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละครอบครัว  ถ้ากังวลมากก็ไม่ควรทำ  แต่ถ้าคิดว่าน่าจะได้ ก็ทดลองทำดูได้  อาจจะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้  ก็จำไว้เป็นประสบการณ์ของตนเองค่ะ ถ้าอยากทราบว่านมเสียหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ชิมค่ะ
Read More

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สายด่วนคลีนิคนมแม่ ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

สายด่วนคลินิกนมแม่ 




รพ.ศิริราช ตึกพระศรี ชั้น 2 ถ.พรานนก บางกอกน้อย กทม. 10700 02-419- 5994-5 ต่อ คลินิกนมแม่

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กทม. 10400 02-354-8945

รพ.รามาธิบดี 270 ถ.พระราม 6 ซ.สูติกรรมพิเศษ เขตราชเทวี กทม. 10400 02-201-2663

รพ.กลาง 514 ถ.หลวง แขวงเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบฯ กทม. 10100 02-221-6141 # 11321

รพ.จุฬาลงกรณ์ ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กทม. 10330 02-256-4808

รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120 02-926-9604-5,02-926-9199 ต่อ 8907

รพ.นพรัตน์ราชธานี 109 ม.5 ถ.รามอินทรา กม.12 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. 10230 02-517-4270-9 ต่อ 1486,1450

รพ.ตากสิน 543 ถ.สมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กทม.10600 02-437-0123  ต่อ  1415  (จันทร์–ศุกร์ เวลา 8.00-16.30 น.)

รพ.BNH 9/1 ซ.คอนแวน ถ.สีลม บางรัก กทม. 10500 0-2686-2700

รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ 8 ถ.ตก แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กทม.10120 02-289-7000-3 ต่อ 7134

รพ.เซ็นหลุยส์ 215 ถ.สาธรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กทม. 10120 02-675-5000 ต่อ แผนกเด็กแรกเกิด,OPD  เวลา 7.00-15.00  น.

รพ.เปาโลเมโมเรียล 90/102 ม.4  ซ.เสนานิคม แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กทม.10230 02-271-0227  ต่อ  OPD

รพ.พระมงกุฏเกล้า ถ.ราชวิถี เขตราชวิถี กทม 10400 02-354-7600-28 ต่อ 94044

รพ.พระรามเก้า 99 ถ.พระรามเก้า ห้วยขวาง กทม. 02-248-8020  ต่อ แผนกเนิร์สเซอร์รี่

รพ.ภูมิพล (คลินิกนมแม่) 171 ถ.พหลโยธิน ต.คลองถ. อ.สายไหม กทม. 10220 02-534-7723

รพ.มงกุฎวัฒนะ 34/40 ม. 1 ต.ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กทม. 10220 02-574-5000-9 ต่อ 1011

รพ.ลาดกระบัง 190/15 ม. 1 ถ.อ่อนนุช ลาดกระบัง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กทม. 10520 02-326-9995 ต่อ 208

รพ.เลิดสิน 190 ถ.สีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กทม. 10500 02-353-9799  ต่อ  9856,9857

รพ.วิชัยยุทธ 71/3 ถ.เศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. ฯ 10400 02-618-6201, 02-618-6200 ต่อ 51252-53,51754-55

รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ถ.ตากสิน อ.ธนบุรี กทม. 10600 02-460-0000 ต่อ 11550

รพ.สมิติเวช 133 สุขุมวิท 49 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 02-711-8345  อายุไม่เกิน  1  เดือน

รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ 48 ม.2 ถ.เลียบวารี แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กทม. 10530 02-543-1307, 02-543-1150  ต่อ  424  (จันทร์,อังคาร,พฤหัส),425-6  (พุธ,ศุกร์,เสาร์,อาทิตย์)

รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินุธโร อุทิศ 39 ม.4 ถ.เพชรเกษม ซ.เพชรเกษม81 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม. 10160 02-429-3575-81 ต่อ  8574,8572

คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 99 ม. 18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121 02-926-9999 #7362

คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ ถ.รามคำแหง24 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กทม. 10240 02-300-4543,02-300-4553 ต่อ 3505

คณะพยาบาลศาสตร์ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 18/18 ถ.บางนา-ตราด กม.18 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 02-312-6300 ต่อ 1235(ทุกวันจันทร์)

วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300 02-241-6500-9 ต่อ 8213 (อ. สุมิตตา  สว่างทุกข์)

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกทม. 2/1 ถ.พญาไท เขตราชเทวี กทม.10400 0-2354-8247,0-2354-8241-2

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนพรัตน์วชิระ 109/1 ถ.รามอินทรา กม.12 แขวงคันยาว เขตคันนายาว กทม. 10240 02-540-6500-1   ต่อ  242

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย 1873 พระราม 4 ปทุมวัน กทม. 10330 02-256-4807

วิทยาลัยแพทยศาสตร์  และวชิรพยาบาล ถ.สามเสน ดุสิต กทม. 10300 0-2244-3795


ศูนย์อนามัยที่ 1 บางเขน กทม. 02-521-3064 ต่อ 206

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี 18120 036-266-170

รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ 67 ม.7 ถ.รังสิต-นครนายก แขวงองครักษ์ เขตองครักษ์ จ.นครนายก 26120 037-395-085 ต่อ 10819

รพ.พหลพลพยุหเสนา ถ.แสงชูโต  ต.ปากแพรก  อ.เมือง  จ.กาญจนบุรี  71000 034-511-233 ต่อ 6600-01

รพ.พระนครศรีอยุธยา 46/1 ม.4 ถ.อู่ทอง ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 035-211-888  ต่อ  5402

รพ.บ้านโป่ง ถ.แสงชูโต  อ.บ้านโป่ง  จ.ราชบุรี 70110 032-222-841-46 ต่อ 273

รพ.นครปฐม 196 ถนนเทศา ต. พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทร 034-254-150-4 ต่อ 1018

รพ.ปทุมธานี ถ.ปทุม-ลาดหลุมแก้ว ต.บางปรอก  อ.เมือง  จ.ปทุมธานี 12000 02-598-8888 ต่อ  8908,8849

รพ.เพชรบูรณ์ 203 ถ.สามัคคีชัย ต.ในเมือง  อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์  67000 056-717-600 ต่อ 6500
ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี 036-300-830-32 ต่อ 156

ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี 429 ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 032-310-368-71 ต่อ 2312

รพ.สวนดอกเชียงใหม่ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ (คลินิกนมแม่) 053-946-799

รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ คลินิกนมแม่  ชั้น 3 อาคารบุญสมมาร์ติน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 053-946-799 เวลา 08.00 น. - 20.00 น.

รพ.นครพิงค์ เชียงใหม่ คลีนิคนมแม่ 053-999-200 ต่อ 2217

รพ.อุตรดิตถ์ (สูติกรรมหลังคลอด) 38 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000 055-411-064ต่อ  7126-28

ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ 053-272-740 ต่อ 212

ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ 056-325-093-5 ต่อ 287

ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก 055-299-280-2 ต่อ 121

ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี 038-148-165 ต่อ 51

รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 038-322-157-9  ต่อ  1146

รพ.ตราด 108 ถ.สุขุมวิท ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด 23000 039-511-040  ต่อ  644  (จันทร์-ศุกร์  เวลา  8.30-16.30  น.)

รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี อ.เมือง จ.จันทบุรี  22000 039-324-975ต่อ3458

รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (คลินิคนมแม่) 222 ถ.พิศษฐพยาบาล ต.ท่าตะเภา อ.เมือง จ.ชุมพร 86000 077-503-674   ต่อ 282

รพ.ปัตตานี 2 ถ.หนองจิก ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 073-335-134-8  ต่อ  273

รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช กลุ่มงานกุมารเวชกรรม รพ.มหาราช ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 075-340-250 ต่อ 1024

ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช 075-399-460-4 ต่อ 114
ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา 073-214-200 ต่อ 139
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา 044-305-134   ต่อ  150
ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น 043-235-902-5 ต่อ 5805
ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี 045-288-586-8 ต่อ 319

 คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลขอนแก่น รับปรึกษาปัญหาตลอด 24 ชั่วโมง 043-336789 ต่อ 3764

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น 123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 043-363-512-13
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บำรุงสมองของลูกน้อยได้ตั้งแต่ในครรภ์มารดา

ทุกคนต่างชอบเด็กที่มีความฉลาดทั้งด้านการเรียนรู้และด้านอารมณ์ และเด็กฉลาดจะสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ครอบครัว ความฉลาดของเด็กนอกจากความตั้งใจในการเรียนรู้แล้ว สมองของเด็กมีส่วนสำคัญเช่นกัน การบำรุงสมองด้วยอาหารที่มีประโยชน์เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง ยิ่งคุณแม่รีบเลือกสรรอาหารอย่างเหมาะสมต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยในครรภ์แล้ว เมื่อเด็กเติบโตปัญหาหรือภาวะอันตรายที่เกิดกับสมองของเด็กก็ลดลงเช่นกัน ดังนั้นการเลือกอาหารให้เหมาะสมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ย่อมส่งผลดีกับตัวคุณเองและลูกน้อยในครรภ์..

 อาหารประเภทแรกที่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์คือ โปรตีน ยิ่งเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมอง หากทารกในครรภ์ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอทำให้สมองมีขนาดเล็กผิดปกติ และสำหรับคุณแม่แล้ว โปรตีนเป็นสารอาหารหลักสำหรับการสร้างและเพิ่มขนาดเซลล์ สร้างน้ำนม เพิ่มปริมาตรเลือด สร้างน้ำย่อย สร้างภูมิคุ้มกัน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สารอาหารที่จำเป็นต่อมาคือ โฟเลต พบมากในตับสัตว์ บล็อกโคลี่ หน่อไม่ฝรั่ง ผักโขม และแคนตาลูป โฟเลตช่วยสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท และไขสันหลังของทารกในครรภ์ สมควรที่จะรับประทานตลอดช่วงตั้งครรภ์ เพราะเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อการสร้างสารพันธุกรรม และช่วยให้เม็ดเลือดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น วิตามินบี 2 (พบมากในนม ไข่แดง เนื้อสัตว์ ตับ และโยเกิร์ต) จะช่วยในการเจริบเติบโต และพัฒนาสมองของทารก ถ้าได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้สมองของทารกมีขนาดเล็ก ส่วนคาร์โบไฮเดรต เป็นอาหารที่จำเป็นต่อสมองของลูก และให้พลังงานต่อร่างกาย คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ใหม่ ๆ ควรทาน เพราะอาการแพ้จากการตั้งครรภ์เนื่องจากฮอร์โมนไม่สมดุล คาร์โบไฮเดรตจะเป็นสารอาหารที่กินง่าย ย่อยง่าย เสริมพลังให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ง่าย สารอาหารที่สำคัญและช่วยบำรุงสมองของลูกตั้งแต่ในครรภ์นั้น ยังมีธาตุเหล็ก ไอโอดีน โอเมก้า 3 วิตามินบี 8 และบี 12 หากคุณเลือกอาหารอย่างเหมาะสมตามคู่มือคุณแม่ หรือขอคำปรึกษาจากแพทย์แล้ว ทารกในครรภ์ย่อมได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ต่อพัฒนาการทางร่างกาย และพัฒนาการสมอง เพียงแค่คุณปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ โอกาสที่เสี่ยงจะส่งผลต่อสมองของทารกจะลดลง
Read More

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ 2558

การให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญควรตรวจสอบวัคซีนของลูกหลานเราให้ครบ สำหรับตารางการให้วัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็กดูตามตารางที่อัพเดทด้านล่างเลยค่ะ

 ตารางวัคซีน 2558 [1620 kb]
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

5 ผลไม้ช่วยให้ลูกกินยามเช้าเพื่อสุขภาพดี

มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นมือที่ให้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะช่วยเรื่องความจำ ควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงทั้ง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง  เป็นต้น ยิ่งหากเติมอาหารดีๆ ในยามเช้าให้แก่ลูกๆ ในตอนเช้าแล้วจะช่วยมีสุขภาพที่ดีมากขึ้นเลยล่ะ



 
Read More

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

คุณแม่หลังคลอดลูกรัก ควรให้เวลาตัวเองมากแค่ไหน?

เมื่อคุณแม่อุ้มท้องจนมาถึงเวลาคลอดลูกรัก  หลังจากนั้นควรให้เวลาตัวเองมากแค่ไหน?


หลังจากที่คุณแม่คลอดเจ้าตัวเล็กแล้ว ทั้งรูปร่างและอารมณ์ของคุณแม่จะยังไม่เข้าที่เข้าทางในทันทีนะคะ เพราะนั่นคือช่วงเวลาที่ฮอร์โมนกำลังปรวนแปร ซึ่งเราต้องใจเย็นและค่อยๆ ฟื้นฟูร่างกายตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด รวมถึงการหมั่นออกกำลังกาย ดูแลตัวเอง และอย่าเคร่งเครียดหรือกดดัน เพราะอีกไม่นานร่างกายของเราและอารมณ์ต่างๆ ก็จะกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้งค่ะ
Read More

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

เมื่อลูกดื้อเวลาออกไปนอกบ้าน พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร

การพาลูกออกไปนอกบ้านในวัยที่กำลังเติบโต และซุกซนเต็มที่นับว่าเป็นภาระใหญ่หลวงของพ่อแม่ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งถ้าลูกทำตัวดีเชื่อฟัง ไม่กรีดร้อง วิ่งวุ่นให้พ่อแม่กลุ้มใจก็ดีไป แต่เมื่อไหร่ที่ลูกเกิดอาการน๊อตหลุดขึ้นมา พ่อแม่จะมีวิธีการรับมือกับทั้งลูกและสังคม ผู้คนรอบข้างอย่างไรบ้างมาดูกันค่ะ


ถ้าลูกอยู่ในวัยที่เริ่มรู้เรื่องแล้ว ต้องเตรียมความพร้อมสอนเรื่องระเบียบวินัยกันตั้งแต่อยู่ที่บ้าน ก่อนที่จะพาลูกออกไปในที่สาธารณะ การสอนให้เด็กมีระเบียบวินัย สอนให้เด็กเข้าใจได้ง่าย เพราะบางครั้งเด็กยังไม่เข้าใจว่าการเล่นของตนไม่ถูกต้องอย่างไร

ดูความพร้อมของลูกว่าพร้อมที่จะออกไปนอกบ้าน หรือที่สาธารณะหรือไม่ ถ้าพ่อแม่ยังไม่สามารถควบคุมลูกได้ ต้องพยายามพาเด็กออกไปข้างนอกให้น้อย หรือเท่าที่จำเป็น จนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถควบคุมลูกได้

พ่อแม่ต้องคำนึงถึงสิทธิคนอื่นในที่สาธารณะด้วย เราอาจจะมองว่าเด็กงอแงเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ หรือลุกลามจนคนทำให้คนอื่นเดือดร้อน ต้องพาลูกออกไปจากสถานการณ์นั้นให้ลูกสงบก่อน

เมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่นไม่ใช่เวลาที่จะมาสอนลูกตรงนั้นแล้ว หลายครั้งที่ลูกดื้อ ซน พ่อแม่ก็ยิ่งพยายามสอน พยายามดุลูก เพื่อแสดงให้คนรอบข้างเห็นว่าตัวเองได้ทำหน้าที่แล้ว แต่ลูกไม่ฟังเอง ช่วยไม่ได้ การทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นค่ะ

เด็กแต่ละคนจะมีวิธีการรับมือที่ได้ผลแตกต่างกันไป ตามลักษณะนิสัย เช่น บางคนหากเข้าไปกอดอาการก็จะสงบลง หรือพยายามเบี่ยงประเด็นให้ลูกสนใจอย่างอื่นจนลืมเรื่องที่อาละวาดไป ถ้าลูกวีนในร้านอาหาร ลองอุ้มพาเขาไปดูปลาหรือกุ้งเป็นๆ ที่ว่ายน้ำอยู่หน้าร้าน เบี่ยงเบนความสนใจ รับรองว่าลูกจะสงบลงได้อย่างรวดเร็ว หรือพ่อแม่บางคนใช้วิธีวางเฉยให้ลูกร้องไปให้พอ โดยพาไปในที่ที่ไม่รบกวนคนอื่น เช่น ลานจอดรถห้าง หรืออุ้มเข้าไปในห้องนอน ร้องเสร็จแล้วค่อยคุยกัน

ก่อนพาลูกออกไปจากสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ พ่อแม่ควรขอโทษต่อคนรอบข้างที่ได้รับความเดือดร้อนด้วย

คนส่วนใหญ่เข้าใจธรรมชาติของเด็กว่า ดื้อ ซน เป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่ต้องการคือความรับผิดชอบ และคำขอโทษจากพ่อแม่เท่านั้นค่ะ หลายครั้งทีคนไม่พอใจคือ การนิ่งเฉย และไม่รับผิดชอบของพ่อแม่นั่นเองค่ะ ดังนั้นเอ่ยคำขอโทษด้วยความจริงใจ เมื่อลูกคุณทำความเดือดร้อนให้คนอื่น นอกจากจะผ่อนคลายให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นแบบอย่างในการสอนให้ลูกอีกด้วยค่ะ

เมื่ออยู่ในสถานการณ์หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถพาลูกออกไปได้ เช่น บนเครื่องบิน เรามีเทคนิคมาฝากกันค่ะ กับการพาลูกขึ้นเครื่องบินอย่างไร

ที่มา : momypedia
Read More
loading...