ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงเช้าร้อน เย็นฝนตก เช้าฝนตกเย็นร้อน สงสารก็แต่เจ้าตัวน้อยๆ ที่ต้องตั้งท่ารับการเปลี่ยนแปลงของอากาศช่วงนี้เลยนำเกร็ดความรู้ในการดูแลหนูน้อยหากเป็นหวัดมาฝากค่ะ
เมื่อเจ้าตัวเล็กเป็นหวัด โรคหวัด เรียกว่า เกิดมาคู่กับเด็กเล็กเลยก็ว่าได้...
เมื่อลูกน้อยเป็นไข้หวัด มักต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าผู้ใหญ่ เวลาที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง บางทีอากาศแห้งหรืออากาศชื้น เด็กเล็กร่างกายบอบบาง ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย ร่างกายจึงมีการตอบสนองโดยสร้างน้ำมูกออกมา ป้องกันมิให้ช่องทางเดินหายใจแห้งเกินไป และเด็กเล็กไม่สามารถ จะช่วยเหลือตัวเองที่จะสั่งน้ำมูกออกมาเองได้ ทำให้ทางเดินหายใจติดขัด ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทราบการดูแลเด้กที่เป็นหวัดเบื้องต้น และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นไว้ใช้ได้ทันทียามฉุกเฉิน เวลาที่ลูกน้อยไม่สบายในเวลากลางคืน หรือไปต่างจังหวัดก็สามารถดูแลลูกน้อย ด้วยวิธีการและอุปกรณ์พื้นฐานที่เราเตรียมการไว้ล่วงหน้าได้
การสังเกตว่าเด็กเป็นหวัด..
เมื่อเด็กเล็กเริ่มเป็นหวัดมักมีน้ำมูกใสไหลออกมาและมีอาการแน่น คัดจมูก หายใจไม่สะดวก ไอ จาม และมักมีตัวร้อนร่วมด้วย อาจมีอาเจียน คลื่นไส้ ร้องกวน เบื่ออาหาร และไม่ยอมดูดนม ส่วนในเด็กโตอาจมีเพียงไข้ต่ำๆ รู้สึกร้อนในจมูก คอแห้ง หรือเจ็บคอ ไอ จาม คัดจมูก และมีน้ำมูกใส
การดูแลเด็กที่เป็นโรคหวัดนั้น โดยทั่วไปเป็นการดูแลตามอาการ การดูแลเบื้องต้นเมื่อพบว่าเด็กเป็นหวัดในระยะแรก ได้แก่ การเช็ดตัวระบายความร้อนในร่างกาย โดยเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนาน 10-15 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิร่างกายของเด็ก หากไข้ไม่ลดใน 24 ชม. ต้องรีบพามาพบแพทย์ และให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาให้โดยเฉพาะในเด็กทารากไม่ควรซื้อยาใช้เอง เนื่องจากเราจะไม่ทราบปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการรักษา ทั้งยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ทำให้เป็นอันตรายได้ และไม่ควรให้ยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน เนื่องจากต้องได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกหรือไม่ เพราะหากรับแอสไพรินเข้าไปจะทำให้เด็กเป็นอันตรายได้
การดูแลเด็กเป็นหวัดที่บ้าน
โรคหวัดเป็นโรคที่พ่อแม่ดูแลเองได้ แต่ต้องคอยระวังโรคแทรกซ้อนและคอยสังเกตการหายใจ โดยทำได้ดังนี้
ลดไข้ - เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นนาน 10-15 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ให้ยาลดไข้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมงในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 เดือน หากไข้ลดก็ไม่จำเป็นต้องกินยา
ระบายน้ำมูก/ลดน้ำมูก - การลดน้ำมูกเพื่อให้โพรงจมูกโล่ง ช่วยให้เด็กสามารถหายใจได้ดี ในทารกถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากมีน้ำมูกอุดตันทางเดินหายใจหรือรูจมูกอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
1. ใช้ผ้านุ่มม้วนปลายแหลมสอดในรูจมูกซับน้ำมูก
2. ดูดออกด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
- หลอดดูสายยางที่ได้มาตรฐานราคาของหลอดดูดน้ำมูกแบบสายยาง ไม่สูงมาก ควบคุมแรงดูดด้วยตัวผู้ดูด ควรเลือกแบบที่มีใส่กรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันการส่งเชื้อสู่กันระหว่างหนูน้อยกับผู้ดูด
- เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ
เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ ราคาสูงกว่าแบบทั่วไป ควบคุมแรงดูดสม่ำเสมอด้วยตัวเครื่อง ใช้งานได้ดีและง่าย ไม่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเชื้อโรคสู่กัน เมื่อเด็กชินสามารถถือดูดได้เอง เมื่อรู้สึกมีน้ำมูก ไม่เสี่ยงต่อการสั่งน้ำมูกแรงเกินไป ซื่งจะมีผลกับเยื่อแก้วหู
แนะนำ ** เครื่องดูดน้ำมูกอัตโนมัติ ZOLI ได้รับการทดสอบแล้วจากผู้ใช้ว่าใช้งานได้จริง **
3. ให้ยาลดไข้และยาลดน้ำมูกที่ปราศจากแอสไพริน และแอลกอฮอลล์ ให้ เด็กหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไข้หวัดมักหายได้เองภายใน 1-5วัน ไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากเป็นหวัดหลายวัน แล้วกลับมามีไข้ขึ้นควรนึกว่าอาจมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น ซึ่งต้องขอคำปรีกษาจากแพทย์
***พร้อมทั้งให้งดอาบน้ำ ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ ถ้ายังมีไข้สูงหลังจากให้ยา 24 ชั่วโมง ต้องพาลูกไปให้แพทย์ตรวจ อาจจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพราะ อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ปวดหู - หูชั้นกลางอักเสบ หรือ อาจเกิดหูน้ำหนวก ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวมได้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
การป้องกันโรคหวัด ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
- เด็กเล็กๆ ไม่ควรคลุกคลีกับผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อ
- ไม่พาเด็กเล็กไปสถานที่แออัด
- หลีกเลี่ยงมลพิษ เช่น ควันไฟ ควันบุหรี่
- ไม่กระทบความเย็นจัด หรือร้อนจัด
2. เพิ่มภูมิต้านทานให้เด็กแข็งแรง
- เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข
- ให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
![]() |
NoseFrida หาซื้อได้ที่แผนกเด็กอ่อนหรือร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็กชั้นนำ |
![]() |
Zoli Nasal Aspirator หาซื้อได้ที่แผนกเด็กอ่อนหรือร้านจำหน่ายสินค้าแม่และเด็กชั้นนำ |
เรียบเรียงและรวบรวมโดย บจก. โกรว วิธ เลิฟ
EmoticonEmoticon