ตัวย่ออย่าง MFG,MFD,EXP, EXD, BB หรือ BBE คืออะไร สินค้าอะไรบ้างที่เรามักจะเจอตัวย่อแบบนี้ อย่างเช่น สินค้าจำพวกอาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชสำอาง ต่างๆ ซึ่งมักจะพบตัวย่อเหล่านี้ติดอยู่บนฉลาก มาดูความหมายของตัวย่อแต่ละตัวกันดีกว่าครับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้นๆได้อย่างถูกต้อง
MFG/MFD |
Manufacturing Date /Manufactured Date
|
วันที่ผลิต |
EXP/ EXD |
Expiry Date /Expiration Date
|
วันที่หมดอายุ |
BB/BBE |
Best Before/Best Before End
|
ควรบริโภคก่อนวันที่ |
ตัวอย่าง
คำย่อ MFG. date หรือ MFd ย่อมาจากคำว่า manufacturing date แปลว่าวันที่ผลิต
* MFd 22/8/09 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 22 เดือนสิงหาคม ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552
* MFG. date 15.12.52 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ.2552
* MFd AUG.09 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552
EXP หรือ Exp.date ย่อมาจากคำว่า expiration date แปลว่า วันที่หมดอายุ เช่น
* EXP JUL 10 หมายถึง ยานี้หมดอายุเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2010 หรือพ.ศ.2553
* Exp. date 15.12.53 หมายถึง ยานี้หมดอายุวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553
Reg. No. ย่อมาจากคำว่า registered number แปลว่า เลขที่ทะเบียนยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน โดย A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง)
ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมายดังนี้ 1 คือ ยาเดี่ยว (มีตัวยาสำคัญตัวเดียว) 2 คือ ยาสูตรผสม (มีตัวยาสำคัญหลายตัว)
เพราะฉะนั้น Reg. No.1A จึงบอกเราว่า ยานี้เป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นยาเดี่ยว ส่วน Reg. No. 2A บอกเราว่ายานี้เป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศและเป็นยา สูตรผสม
Batch. No. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน
L & C. No. ย่อมาจาก lot and control number หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิตและควบคุมคุณภาพ มีความหมายคล้ายกับ Batch. No.
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลากอาหาร กำหนด ให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะ บรรจุโดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอาหารนั้น และข้อมูลที่ต้องมีคือข้อมูลความปลอดภัยที่ประกอบด้วย วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง และคำเตือนต่างๆ แต่กฎหมายเปิดทางให้บริษัทผู้ผลิตสามารถใช้คำว่า “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” ก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในความหมายของคำสองคำนี้ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขออธิบายความหมายของคำสองคำ นี้ก่อน
“หมดอายุ” หมายถึง วันที่อาหารนั้นหมดอายุ หลังจากวันนั้นแล้วอาหารจะเน่าเสีย หรือบูด ห้ามรับประทาน ควรนำไปทิ้ง
“ควรบริโภคก่อน” หมายถึง อาหารจะมีรสชาติดี ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามที่ ระบุไว้บนฉลากอาหารจนถึงวันนั้น หลังจากวันนั้นไปรสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง แต่จะไม่มีปัญหาในเชิงความปลอดภัย จึงยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้นตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารก็ได้ และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้นจะหมดอายุหรือเสีย
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะซื้อยาให้ลูกก็ควรดูข้อมูลสินค้าจะได้ไม่เสียประโยชน์นอกจาก วันทีผลิต วันหมดอายุ ควรบริโภคก่อน ก็อาจยังมีข้อมูลอื่นๆที่ระบุบนสินค้าด้วย เช่น ล็อตการผลิต การยิงตัวเลข running number เป็นต้น
เครดิตจากหมอชาวบ้าน
EmoticonEmoticon