วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

10 ข้อดีของการให้นมลูกจากเต้า

จากการวิจัยพบว่าทารกที่ได้นมแม่แข็งแรงกว่าเด็กที่ได้นมผง เพราะนมแม่มีภูมิต้านทานโรคและสารอื่นๆที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค วันนี้จะขอยกตัวอย่างข้อดีของการให้นมลูกจากเต้ามาสัก 10 อย่างค่ะ


นมแม่เป็นสารอาหารที่มาจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อลูกของเราที่สุด

จะหานมอะไรที่ปลอดภัยและได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการเทียบเท่านมแม่ไม่มีอีกแล้ว ต่อให้เทคโนโลยีของมนุษย์จะก้าวไกลไปแค่ไหน ก็ไม่อาจจะเลียนแบบนมสังเคราะห์ใดๆ หรือนมจากสัตว์อื่นๆ ที่ทั้งปลอดภัย และมีสารอาหารได้เสมอเหมือนนมแม่อีกแล้วในโลกนี้

เด็กที่เติบโตมาจากการกินนมแม่ แข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมวัว

เพราะในน้ำนมแม่ทุกหยด กลั่นมาจากภายในร่างกายของแม่เอง ภูมิต้านทานต่างๆ ในตัวของแม่ จะถูกถ่ายทอดผ่านน้ำนม เมื่อลูกได้กินนมแม่ก็จะได้รับภูมิต้านทานต่างๆ ไปด้วย ซึ่งนมวัวหรือนมสังเคราะห์อื่นๆ จะไม่มี ภูมิต้านทาน

หมดปัญหาลูกท้องผูก

เพราะนมแม่นั้นย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่ต้องทรมานกับอาการท้องผูก แต่หากลูกของเรากินนมวัวหรือนมประเภทอื่นจะพบปัญหาท้องผูกได้มากกว่า

หมดปัญหาเรื่องลูกอ้วนเกินไป

เคยเห็นเด็กทารกตัวอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักใช่ไหมค่ะ แต่บ่อยครั้งเด็กแรกเกิดที่เราเห็นอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักนั้นก็มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน สาเหตุมาจากการเลี้ยงลูกด้วยนมวัวหรือนมสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ นั้นเอง ในขณะที่การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ลูกของเราจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินเลย น้ำหนักตัวของลูกจะเป็นไปตามมาตราฐานของเด็กในแต่ละวัยแบบธรรมชาติ

โอกาสเกิดผื่นผ้าอ้อมน้อยกว่า

ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากความอับชื้น และเกิดปฏิกริยาของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกรณีที่เราเลี้ยงลูกด้วยนมวัวนั้น ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียมากกว่า เมื่อมารวมกับความอับชื้น (จากการใส่ผ้าอ้อม) ผิวของลูกจะเกิดอาการ ผื่นแดงๆ (จึงเรียกว่าผื่นผ้าอ้อม) ซึ่งหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่ามาก โอกาสที่ลูกจะต้องทรมานกับอาการผื่นผ้าอ้อมก็จะลดลงด้วย

สานสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก

การให้ลูกได้ดูดนมจากอกแม่เอง เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบาย มีแต่แม่ที่เคยให้ลูกดูดนมจากอกตัวเองเท่านั้นถึงจะบรรยายความรู้สึก ความสุขใจ ที่เกิดขึ้นในตัวของแม่คนนั้นได้เอง นอกจากนั้นตลอดเวลาที่ลูกดูดนม จากอกแม่ ลูกก็จะมองหน้าแม่ของตัวเอง ซึ่งช่วงเวลาที่ให้นมลูกนั้น เป็นช่วงเวลาที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะแม่ลูกจะได้สบตา ได้พูดคุย ได้แสดงความรักต่อกัน ทำให้ลูกสามารถรับรู้ได้ว่าแม่ของเขารักเขามากแค่ไหน นอก จากนั้นการที่ลูกดูดนมจากอกของแม่บ่อยๆ จะทำให้ลูกจำกลิ่น เสียง หน้าตา และสัมผัสต่างๆ ของแม่ได้เร็วกว่าเด็กที่กินนมจากขวดนม

ร่างกายของแม่จะผอมเร็วกว่า

หลังจากคลอดลูก ร่างกายของคุณแม่แม้ว่าจะน้ำหนักลงไปบ้าง แต่ระบบภายใน รวมถึงมดลูกอาจจะยังไม่เข้าที่เท่าที่ควร การเลี้ยงลูกโดยให้ลูกดูดนมแม่จากอกนั้น จะช่วยกระตุ้นร่างกายของแม่ให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง (ซึ่งจะออกมาเฉพาะตอนที่ให้ลูกดูดนมแม่เท่านั้น) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้มดลูกหดตัวเข้าที่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการที่ร่างกายต้องผลิตนมแม่จะช่วยเผาผลาญไขมันต่างๆ ตามหน้าท้องออกไปด้วย ทำให้รูปร่าง ของแม่ที่เพิ่งคลอดลูก กลับมาผอมเพรียวได้เร็วกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมวัว โดยเฉลี่ยแล้วการที่เลี้ยงลูกเอง ให้ลูกกินนมจากอกแม่เอง น้ำหนักตัวของแม่จะลดลงเฉลี่ยเดือนละ 1-2 กิโลกรัม ซึ่งหากเราให้ลูกกินนมแม่ตลอด 6 เดือนแรกหลังคลอด น้ำหนักตัวและรูปร่างของคุณแม่ก็จะเข้ารูปและเกือบจะกลับมาเป็นปกติ

เป็นอาหารที่สะดวกที่สุดสำหรับลูกตลอด 24 ชม.

นมแม่เป็นแหล่งเติมพลังของลูกน้อยของเราที่สามารถให้ลูกกินได้ตลอด 24 ชม. เมื่อไรที่ลูกหิว เราก็สามารถให้ลูกกินนมจากอกของเราได้ทันที ไม่ต้องพกขวด น้ำร้อน นมผง ฯลฯ ให้ยุ่งยาก สะดวกและรวดเร็วทันใจ ลูกที่สุดแล้วละค่ะ

เป็นนมอุ่นๆ พร้อมดื่มได้ตลอดจากอกแม่

คุณสมบัติที่พิเศษที่หานมอื่นๆ ในโลกนี้ไม่ได้อีกแล้วนั้นคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น แม่ไม่ต้องกังวลว่านมแม่นั้นจะร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปสำหรับลูก เพราะนมแม่ที่ออกมาจากเต้านั้น จะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะกับ ลูกของเราทันที หากเลี้ยงลูกด้วยนมวัว เราคงต้องตรวจสอบก่อนเสมอว่านมที่ผสมนั้นจะร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไปหรือไม่

ไม่ต้องเสียเงินค่านมแพงๆ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ

ค่านมผงชนิดต่างๆ นั้น ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงมากขึ้น ไหนจะค่าขวดนม ค่าน้ำยาล้างขวดนม อุปกรณ์ล้างขวดนม ฯลฯ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมดไปหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะนมแม่กลั่นมาจากร่างกายของแม่เอง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ อีก

นอกจากนั้น การที่ลูกดูดนมแม่ยังส่งผลช่วยลดน้ำหนักตัวของแม่หลังคลอดได้ ช่วยไม่ให้มีปัญหาตกเลือดเพราะมดลูกบีบตัวดีขึ้น สร้างความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองของความเป็นแม่
Read More

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

พัฒนาการของเด็กวัย 1 เดือน

    ยกศีรษะได้ชั่วครู่(นอนคว่ำ)
    สบตา
    จ้องหน้าแม่

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก
– เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม
– อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง

พัฒนาการของเด็กวัย 2 เดือน

    ชันคอในท่าคว่ำ
    รู้จักยิ้มตอบ
    คุยอ้อแอ้ ทำเสียงอือ อา อยู่ในคอ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– เล่นกับลูกโดยแขวนของสีสด ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอกให้ลูกมองตาม
– พูดคุยทำเสียงต่างๆ และร้องเพลง
– ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป

พัฒนาการของเด็กวัย 3 เดือน

    ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง
    ยกศีรษะได้ 45 องศา
    เริ่มพลิกคว่ำ
    ส่งเสียงโต้ตอบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก
– ให้ลูกนอนเปล หรืออู่ ที่ไม่มืดทึบ

*ถ้าลูกอายุ 3 เดือน แล้วลูกไม่สบตา หรือ ยิ้มตอบ ไม่ชูคอในท่านอนคว่ำ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

พัฒนาการของเด็กวัย 4 เดือน

    เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้หัวเราะเอิ๊กอ๊าก เสียงดัง
    มองตามสิ่งของหรือคนที่เคลื่อนไหวในระยะห่าง 6 นิ้ว
    เริ่มไขว่คว้า
    ยกศีรษะได้เต็มที่ ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– จัดที่ที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ
– เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า
– ชมเชย ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำได้

พัฒนาการของเด็กวัย 5 เดือน


    นอนคว่ำใช้แขนยันยกหน้าอกขึ้นได้
    พลิกคว่ำ พลิกหงาย
    ไม่ตื่นกลางดึก
    เอื้อมมือคว้า
    คืบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบไปหา
– พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก
– พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว

พัฒนาการของเด็กวัย 6 เดือน

    คว้าของมือเดียว
    หันหาเสียงเรียกชื่อ
    ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบ
    ยันตัวลุกขึ้นนั่ง(แต่นั่งได้ไม่นานหรือต้องมีที่พิงหลัง)
    ฟันซี่แรกเริ่มโผล่พ้นเหงือก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
– เล่นโยกเยกกับเด็ก
– หาของให้จับ

* ถ้าลูกอายุ 6 เดือน แล้วไม่มองตาม หรือ ไม่หันตามเสียง หรือ ไม่สนใจคนมาเล่นด้วย ไม่ พลิกคว่ำหงาย ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

พัฒนาการของเด็กวัย 7 เดือน

    นั่งทรงตัวได้เอง
    เปลี่ยนสลับมือถือของได้
    หยิบอาหารใส่ปาก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
– ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ – หยาบ อ่อน – แข็ง
– ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า – ออก จากถ้วย หรือกล่อง

พัฒนาการของเด็กวัย 8 เดือน


    มองตามของที่ตก
    แปลกหน้าคน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม
– พูดและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ

พัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือน

    คลานเก่ง
    เข้าใจเสียงห้าม
    เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ
    ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็ก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน
– หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม
– ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้

พัฒนาการของเด็กวัย 10 เดือน

    เหนี่ยวตัว ตั้งไข่ ลุกขึ้น เกาะยืน เกาะเดิน
    ส่งเสียงต่างๆ “หม่ำ หม่ำ”, “จ๊ะ จ๋า”

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย
– เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ

พัฒนาการของเด็กวัย 11 เดือน
    ตบมือ
    โบกมือบ๊ายบาย
    พูดคำแรก

พัฒนาการของเด็กวัย 12 เดือน

    ก้าวเดินได้เอง

* ถ้าลูกอายุ 1 ปี ยังไม่เกาะเดิน ไม่สามารถใช้นิ้วมือหยิบของกินเข้าปาก ไม่เลียนแบบท่าทาง และเสียงพูด ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บันทึกพัฒนาการเด็กต่อไปนี้ แสดงความสามารถตามวัยของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมี พัฒนาการเร็ว – ช้า แตกต่างกัน ถ้าถึงอายุที่ควรทำได้แล้วเด็กทำไม่ได้ ควรให้โอกาสฝึกก่อน ใน 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
Read More

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ไวรัสซิกา (Zika virus) คืออะไร เกี่ยวกับคนท้องอย่างไร?

เห็นข่าวช่วงนี้มีคนท้องติดเชื้อไวรัสซิก้า จนทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรดี วันนี้เลยพามาทำความรู้จักกับ ไวรัสซิก้ากันค่ะ



ไวรัสซิก้านั้นเป็นไวรัสซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซิก้าไวรัสสามารถติดต่อได้จากยุงกัด

ผู้ป่วยจากไวรัสซิก้านั้นจะมีไข้ อาจจะมีผื่น ปวดตามข้อ และตาแดง โดยปกติแล้วอาการโดยรวมจะไม่รุนแรงมากและหายได้เองภายในไม่กี่วัน ผู้ป่วยอาการหนักพบได้น้อยและอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล มีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิก้าที่ประเทศบราซิลเมื่อกลางปี 2558 การระบาดในประเทศบราซิลนั้นเชื่อว่าทำให้เกิดความผิดปกติของบุตรที่เกิดจากหญิงที่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยืนยันทางแพทย์ยังไม่ชัดเจน

การติดต่อ

ยุงลาย เป็นพาหะสำคัญของไวรัสซิก้า ซึ่งเป็นพาหะนำโรคชนิดเดียวกับไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่และไข้เลือดออกชิคุนกุนย่า ยุงลายชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง สะอาด เช่น แหล่งน้ำในครัวเรือน มีรายงานพบว่าหญิงที่ใกล้จะคลอดบุตร สามารถถ่ายทอดเชื้อสู่บุตรได้ และมีรายงานว่าเชื้อไวรัสสามารถผ่านทางน้ำนมได้ อย่างไรก็ตาม กลไกในการถ่ายทอดผ่านการตั้งครรภ์และน้ำนมนั้นยังไม่ชัดเจน และพบได้น้อยมาก



อาการแสดง

โดยทั่วไปพบว่าราว 1 ใน 5 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสซิก้านั้นจะป่วยและแสดงอาหาร ระยะฟักตัวของโรคยังไม่แน่ใจ แต่น่าจะอยู่ในช่วงเดียวกับไข้หวัดใหญ่ คือ สองสามวันไปจนถึงเป็นสัปดาห์ อาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีไข้ มีผื่นขึ้น ปวดตามข้อ และตาแดง บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล อัตราตายพบน้อย

การวินิจฉัย

ขณะนี้ยังไม่มีเครื่องมือวินิจฉัยที่ทำได้ในสถานพยาบาลทั่วไป แพทย์อาจซักประวัติว่าผู้ป่วยเดินทางไปยังประเทศที่เสี่ยงมาหรือไม่ อาการของโรคโดยรวมนั้นคล้ายกับไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก ดังนั้นในประเทศไทย แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคจากไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออกด้วย


การรักษา

ส่วนใหญ่เป็นการดูแลตามอาการเป็นหลัก ยาต้านไวรัสหรือวัคซีนยังไม่มีในขณะนี้ เนื่องจากในประเทศนั้นตัวโรคมีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ จึงมีข้อควรระวังเนื่องจากอาจจะแยกโรคได้ยากในช่วงต้น คือการงดใช้ยาแก้ปวดและลดไข้กลุ่ม NSAIDs เนื่องจากรบกวนการทำงานของเกร็ดเลือดและเสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย


การป้องกัน

ทำได้โดยป้องกันยุงกัดเป็นหลัก หลักการป้องกันและควบคุมโรคในไทยสามารถใช้หลักการเดียวกับการป้องกันไข้เลือดออก โดยธรรมชาติของยุงลายนั้นจะชอบกัดในเวลากลางวัน การสวมเสื้อผ้ามิดชิด อยู่ในมุ้งหรือใช้มุ้งลวด สามารถลดความเสี่ยงของการโดนยุงกัดได้ สิ่งสำคัญคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งมักเป็นภาชนะที่มีน้ำขังในครัวเรือน เช่น ถ้วยชามที่มีน้ำขัง แม้แต่เศษขยะก็มีน้ำขังได้


สถานการณ์โรค

ขณะนี้ยังไม่พบรายงานของการติดเชื้อไวรัสซิก้าในไทยหรือประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศที่พบผู้ป่วยนั้น อยู่ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่เม็กซิโกลงไปถึงกลุ่มประเทศอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบการติดเชื้อในเกาะประปรายในมหาสมุทรแอตแลนติค หากเดินทางไปยังประเทศเหล่านี้ภายใน 30 วัน และเกิดอาการเจ็บป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งประวัติเหล่านี้ให้แพทย์ทราบ

เนื่องจากมีความกังวลถึงความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไวรัสซิก้ากับความผิดปกติของการตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้มจะตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด

เนื่องจากไวรัสซิก้าติดต่อจากยุงลายกัด ดังนั้น ตัวไวรัสจะไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยตรงจากการสัมผัส หรือไอจาม อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้น บางครั้งอาการเจ็บป่วยแยกจากไข้หวัดใหญ่ได้ยาก จึงควรมีมาตรการป้องกันเสมอ เมื่อเข้าใกล้ผู้ที่มีกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น การล้างมือ การไอจามต้องปิดปากทุกครั้ง


ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ได้แก่
ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ ที่มีการระบาดโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจติดเชื้อแล้วทำให้ทารกคลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้

โดยสรุป


  • ไวรัสซิก้าติดต่อจากยุงลายกัด
  • ยังไม่มีรายงานของผู้ป่วยในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามควรเฝ้าระวังใกล้ชิด เพราะประเทศไทยมียุงลาย
  • กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดและมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
  • อาการของโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดข้อ อาจมีผื่นและตาแดง
  • ระยะฟักตัวไม่แน่ชัด แต่คาดว่าคล้ายไข้หวัดใหญ่คือสองสามวันถึงสัปดาห์
  • อาหารของโรคไม่รุนแรงและหายได้อง ส่วนน้อยจะมีอาการหนักและต้องรักษาในโรงพยาบาล
  • ยังไม่มีการรักษาจำเพาะ ส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการ
  • ผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ยังคงต้องแยกโรคจากไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก
  • ป้องกันยุงลายกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 


ที่มา - Bangkok Hospital
Read More

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

ผู้บริโภคควรรู้ ตัวย่อ MFG,MFD,EXP, EXD, BB ,BBE คืออะไร

ตัวย่ออย่าง MFG,MFD,EXP, EXD, BB หรือ BBE คืออะไร สินค้าอะไรบ้างที่เรามักจะเจอตัวย่อแบบนี้ อย่างเช่น สินค้าจำพวกอาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชสำอาง ต่างๆ  ซึ่งมักจะพบตัวย่อเหล่านี้ติดอยู่บนฉลาก  มาดูความหมายของตัวย่อแต่ละตัวกันดีกว่าครับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้นๆได้อย่างถูกต้อง





MFG/MFD   Manufacturing Date /Manufactured Date         วันที่ผลิต
EXP/ EXD   Expiry Date /Expiration Date                          วันที่หมดอายุ
BB/BBE      Best Before/Best Before End                           ควรบริโภคก่อนวันที่  

ตัวอย่าง
คำย่อ MFG. date หรือ MFd ย่อมาจากคำว่า manufacturing date แปลว่าวันที่ผลิต
* MFd 22/8/09 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 22 เดือนสิงหาคม ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552
* MFG. date 15.12.52 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ.2552
* MFd AUG.09 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552

EXP หรือ Exp.date ย่อมาจากคำว่า expiration date แปลว่า วันที่หมดอายุ เช่น

* EXP JUL 10 หมายถึง ยานี้หมดอายุเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2010 หรือพ.ศ.2553
* Exp. date 15.12.53 หมายถึง ยานี้หมดอายุวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553

Reg. No. ย่อมาจากคำว่า registered number แปลว่า เลขที่ทะเบียนยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน โดย A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง)

ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมายดังนี้ 1 คือ ยาเดี่ยว (มีตัวยาสำคัญตัวเดียว) 2 คือ ยาสูตรผสม (มีตัวยาสำคัญหลายตัว)

เพราะฉะนั้น Reg. No.1A จึงบอกเราว่า ยานี้เป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นยาเดี่ยว ส่วน Reg. No. 2A บอกเราว่ายานี้เป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศและเป็นยา สูตรผสม

Batch. No. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน

L & C. No. ย่อมาจาก lot and control number หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิตและควบคุมคุณภาพ มีความหมายคล้ายกับ Batch. No.

ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลากอาหาร กำหนด    ให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะ  บรรจุโดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอาหารนั้น และข้อมูลที่ต้องมีคือข้อมูลความปลอดภัยที่ประกอบด้วย   วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง และคำเตือนต่างๆ แต่กฎหมายเปิดทางให้บริษัทผู้ผลิตสามารถใช้คำว่า “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” ก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในความหมายของคำสองคำนี้ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขออธิบายความหมายของคำสองคำ      นี้ก่อน

“หมดอายุ”  หมายถึง วันที่อาหารนั้นหมดอายุ หลังจากวันนั้นแล้วอาหารจะเน่าเสีย หรือบูด ห้ามรับประทาน ควรนำไปทิ้ง

“ควรบริโภคก่อน” หมายถึง อาหารจะมีรสชาติดี ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามที่ ระบุไว้บนฉลากอาหารจนถึงวันนั้น หลังจากวันนั้นไปรสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง แต่จะไม่มีปัญหาในเชิงความปลอดภัย จึงยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้นตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารก็ได้ และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้นจะหมดอายุหรือเสีย

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะซื้อยาให้ลูกก็ควรดูข้อมูลสินค้าจะได้ไม่เสียประโยชน์นอกจาก วันทีผลิต วันหมดอายุ ควรบริโภคก่อน ก็อาจยังมีข้อมูลอื่นๆที่ระบุบนสินค้าด้วย เช่น ล็อตการผลิต การยิงตัวเลข running number เป็นต้น

เครดิตจากหมอชาวบ้าน
Read More
loading...