วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

3 สิ่งที่ควรทำเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องทิ้งลูกไว้ที่บ้าน

1) อย่าแอบออกไป เพราะจะเพิ่มความกังวลให้ลูกว่าคุณจะแอบออกไปอีก และจะทำให้เขากังวลถึงความเป็นไปได้เช่นนี้เมื่อใดก็ตามที่ไม่เห็นคุณ ควรบอกลูกว่าคุณกำลังจะออกไปข้างนอกก่อนออกไป
.
.
2) จากไปโดยเร็ว อย่าอ้อยอิ่งและพยายามทำให้ลูกสงบ ถ้าคุณเป็นเช่นพ่อแม่หลายคนคุณจะรู้สึกผิดทีเดียวที่ทำให้ลูกไม่สบายใจมาก แต่การกอดหรืออธิบายให้เขาฟังเพิ่มอีกไม่กี่นาทีว่าคุณจะกลับมาโดยเร็วไม่อาจจะบรรเทาความวิตกของเขาได้เลย
.
.
3) จำไว้ว่าการร้องไห้มักหยุดในไม่กี่นาทีหลังจากคุณไปแล้ว และจะกลับมาใหม่เมื่อคุณกลับมา (ครั้งนี้ลูกกำลังลงโทษคุณที่ทิ้งไป) 

เพื่อพิสูจน์ด้วยตัวเอง ครั้งหน้าที่คุณออกไปข้างนอกโดยปล่อยทารกที่กรีดร้องไว้ข้างหลังให้ยืนนอกประตูบ้านที่ปิด คุณอาจคิดว่าการร้องไห้จะดำเนินต่อไม่สิ้นสุด แต่น่าแปลกใจที่การร้องไห้จะหยุดในเวลาไม่นาน
.

.
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็ก ฉบับสมบูรณ์"


Read More

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

ทำได้อย่างไร คุณแม่จึงจะผลิตน้ำนมมากขึ้น

สามารถทำได้ในผู้หญิงทุกคนที่มีต่อมน้ำนม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือ ไม่เคยมีลูกมาก่อนก็ตาม และในบางคนอาจผลิตน้ำนมได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของลูกได้โดยไม่ต้องใช้นมผงเลย




วิธีการ

1.กรณีที่แม่เตรียมรับลูกบุญธรรม หรือ กรณีให้ผู้อื่นอุ้มบุญเนื่องจากไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ เมื่อใกล้คลอดประมาณ 2 สัปดาห์ ให้คุณแม่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์เริ่มกินอาหารกระตุ้นน้ำนม และ/หรือ ยากระตุ้นน้ำนมดอมเพอริโดน (หากไม่มีผลข้างเคียงหรือแพ้ยา) 2 เม็ด ทุก 6 ชม. และ/หรือ ยาประสระน้ำนม , fenugreek , ลูกซัด และให้เริ่มปั๊มนมเพื่อกระตุ้นได้เลย โดยใช้เครื่องปั๊มแบบคู่ ทุก 2-3ชม. ทั้งกลางวัน/กลางคืน (กลางคืนสำคัญมาก โดยเฉพาะเวลา ตี 2-3 เนื่องจากฮอร์โมนหลั่งสูงสุด) ปรับความแรงของเครื่องสูงสุด แต่ไม่แรงเกินไปจนทำให้เจ็บหัวนม ปั๊มแต่ละครั้งนาน 20 นาที (ปั๊มไปด้วย ทำอะไรอย่างอื่นไปด้วย ให้เพลินๆ) หัวใจสำคัญอยู่ที่การกระตุ้นเต้านม ระบายน้ำนมออกบ่อยๆ อย่ารอให้เต้าคัดตึงแล้วจึงค่อยเอาออก เพราะจะทำให้น้ำนมไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร

เมื่อลูกเกิดแล้ว ให้นำลูกมาดูดเต้าเหมือนแม่ที่คลอดลูกปกติ น้ำนมจะมาภายใน 2 สัปดาห์ บางคนมีน้ำนมมาตั้งแต่ลูกยังไม่ได้มาดูดกระตุ้นด้วยซ้ำไป ตั้งแต่ตอนที่ยังใช้เพียงแค่ใช้เครื่องปั๊มกระตุ้น หากน้ำนมยังไม่มา แต่นน.ตัวลูกเริ่มลดลงต่ำกว่า 10 เปอร์เซนต์ของแรกเกิดแล้ว ให้เสริมนมโดยต่อสายพลาสติกเล็กๆสำหรับให้อาหารมาที่หัวนม (lactation aids) เวลาลูกดูด จะได้รับน้ำนมเพิ่มเข้าไปด้วย

หากไม่ให้ลูกดูดเต้าเลย ใช้วิธีปั๊มอย่างเดียว จะผลิตน้ำนมได้ไม่มากเท่ากับรายที่ลูกได้ดูดเต้าด้วย จึงควรให้โอกาสเด็กดูดเต้าให้ได้ หากรพ.ที่คลอดช่วยให้ลูกดูดเต้าไม่ได้ อย่าเพิ่งถอดใจ ตัดสินใจเป็นคุณแม่นักปั๊ม ควรติดต่อคลินิคนมแม่เพื่อเรียนรู้ท่าดูดนมที่ถูกต้อง หรือ ตรวจดูว่า มีพังผืดใต้ลิ้นหรือไม่ เมื่อได้รับการแก้ไขแล้ว การดูดเต้าอาจเป็นเรื่องง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ

2.แม่ที่น้ำนมเริ่มลดลง หรือ เคยให้นม แต่หยุดให้ไป และน้ำนมแห้งไปแล้ว อยากเปลี่ยนใจจะกลับมาให้นมแม่อีก เพราะลูกอาจมีปัญหาแพ้นมผง ไม่สบายบ่อย

หากหยุดไปไม่นาน และแม่ต้องการกลับมาให้ลูกดูดเต้าอีกเพราะหวังผลกระตุ้นอย่างเต็มที่ ก็ใช้วิธีเดียวกับข้อ 1. และหากเป็นไปได้ ควรหยุดการป้อนนมลูกด้วยขวดนม เพราะจะทำให้การกลับมาดูดเต้าเป็นไปได้ยาก ให้เปลี่ยนเป็นการป้อนนมด้วยถ้วย ช้อน ดูดหลอด เป็นต้น

แต่ถ้าทำยังไง ลูกก็ยังไม่ยอมดูดเต้าแล้ว ให้คุณแม่ปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอทั้งกลางวัน/กลางคืน ร่วมกับการกระตุ้นจี๊ดที่หัวนม และฝึกบีบเต้าให้เกลี้ยงด้วยมือ ก็จะทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

น้ำนมแม่ที่ผลิตได้ มีคุณสมบัติเหมือนกับน้ำนมแม่ตามปกติ และ การที่แม่ปั๊มนม ถึงแม้ว่าลูกไม่ได้ดูดเต้าโดยตรง ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลายโรคในแม่ด้วยเช่นกัน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุน ฯลฯ

ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านที่กำลังกู้น้ำนม หรือ ผู้มีความต้องการผลิตนมแม่ด้วยความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมค่ะ

คุณแม่กู้น้ำนมโดยใช้เครื่องปั๊มทุก 3 ชม.ทั้งกลางวันกลางคืน โดย 3 สัปดาห์แรก ไม่มีน้ำนมออกมาสักหยด เริ่มได้ติดก้นขวดเมื่อ 21 วัน และได้มากกว่า 3 ออนซ์/วัน เมื่อ 28 วัน ขณะเดียวกันคุณแม่ท่านนี้ก็พยายามให้ลูกฝึกดูดเต้าด้วย ตอนไม่ได้หิวจัดๆ อารมณ์ดีๆ ถ้าดูดแล้วเริ่มหงุดหงิด คุณพยาบาลก็เอาแผ่นแปะหัวนมซิลิโคนมาครอบ หรือ เอาน้ำนมมาหยดล่อที่เต้า เพื่อจูงใจให้ลูกยอมดูดต่อ

อย่าคิดว่า คุ้มกันไหมที่ต้องทุ่มเทขนาดนี้ คุ้มค่าแน่นอนค่ะ เพราะน้ำนมแม่ 1 ซีซี มีเม็ดเลือดขาวตั้ง 1-4 ล้านตัว ได้มาติดก้นขวด เอาหยอดปากลูกเท่ากับลูกได้รับภูมิคุ้มกันชั้นเยี่ยม และ ถ้าลูกยอมกลับมาดูดเต้าได้ด้วย ยิ่งเป็นโบนัสที่ยิ่งใหญ่ น่าดีใจยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่เสียอีก

ที่มา - สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
Read More

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

ลูกน้อยได้อะไรจากการอ่านหนังสือ ?

เราคงคิดว่าลูกจะได้อะไรกับการอ่านหนังสือของพ่อ หรือแม่ในขณะที่อยู่ในครรภ์  เพราะการที่พ่อแม่อ่านหนังสือในขณะที่ลูกยังไม่สามารถสื่อสารกับแม่ได้ถึงแม้จะอยู่ในท้องนั้น  แต่เราควรรับรู้ว่า “การอ่านหนังสือ” คือสิ่งมหัศจรรย์ และจะปลูกฝังลูกให้รักการอ่านได้เป็นอย่างดี 

ภาพประกอบ - http://time.com/3667247/reasons-read-real-book/

เพราะฉะนั้นเรามาพิจารณาสิ่งที่ลูกจะได้จากการอ่านหนังสือของพ่อแม่กันเถอะ

1.    ได้ “ความคุ้นชิน” ในการอ่านนั้นคนที่ชินต่อการอ่าน เมื่อพบเห็นหนังสือทั่วไปอาจหยิบขึ้นมาอ่านด้วยความคุ้นชิน แต่บางคนมักอ่านหนังสือที่ตัวเองสนใจ และชอบเท่านั้น  แต่หากเราปลูกฝังตั้งแต่อยู่ในท้องจะทำให้ลูก “รักที่อ่าน” เมื่อเขาเติบโตมา
2.    ได้ “สมาธิ” เพราะการอ่านต้องใช้สมาธิการอ่านออกเสียง หรือแม้กระทั่งอ่านในใจซึ่งเป็นการเรียกสมาธิได้แตกต่างกัน  บางคนอ่านในใจทำให้เกิดสมาธิได้มาก แต่บางคนการเรียกสมาธิของตนเองผ่านการอ่านออกเสียง เพราะอายตนะจะจดจ่ออยู่กับหนังสือ และการออกเสียง  ลูกน้อยซึ่งอยู่ในครรภ์แม่จึงรับรู้ไปพร้อมๆกับแม่ที่ปฏิบัติการอ่านในขณะนั้น
3.    ได้เข้าใจภาษาที่ถูกต้อง รวมถึงการรวมคำ ผสมคำ  ถึงแม้ลูกน้อยจะยังไม่สามารถทำได้แต่การรับรู้เพื่อเป็นการ “ปลูกฝัง” สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจภาษาได้ง่ายขึ้นหลังจากคลอดออกมา
4.    ช่วยกระตุ้นจินตนาการและความตื่นเต้นให้กับลูก  แม่บางคนอาจมีทักษะในการอ่านที่โด่ดเด่น แตกต่างกันออกไป นอกจากลูกจะได้เรื่องของภาษาแล้ว หากพ่อแม่ที่อ่านหนังสือจินตนาการตามหนังสือที่อ่านจะทำให้ลูกรับรู้ได้ถึงจินตนาการเหล่านั้น ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านจินตนาการได้อีกทางหนึ่งด้วย
เมื่อเห็นประโยชน์อย่างนี้แล้ว เราจะมาเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังกันได้หรือยัง...
Read More

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

คุณแม่ควรรู้!! ทำไมต้อง “อ่าน” ตั้งแต่ตั้งครรภ์

หลังจากที่เคยโพสเรื่องหนังสือเล่มแรก...ที่แม่ควรอ่านให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ทั้งหลายอยากรู้มั้ยค่ะว่าทำไมต้อง “อ่าน” ตั้งแต่ตั้งครรภ์  ผลการศึกษาจากงานวิจัยหลายชิ้น สอดคล้องกับความรู้ทางการแพทย์ที่ยืนยันได้ว่า ช่วงเวลาของการเจริญเติบโตทางสมองของมนุษย์นั้นต้องสอดคล้องกันทั้งสมอง จิตวิญญาณ รวมถึงความดีงามซึ่งเราสามารถบ่มเพาะได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์



            มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่ามหัศจรรย์ของ “การอ่าน” สามารถปรับเปลี่ยน วิธีคิด และพฤติกรรมของคนเราได้มาก  จากเด็กที่เป็นเด็กเอาแต่ใจ อารมณ์ร้ายให้กลับมาเป็นเด็กที่มีสมาธิ ร่าเริง แจ่มใส   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้อย่างไม่น่าเชื่อทุกอย่างเหล่านี้ควบรวมถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  เช่นต้นไม้ใบหญ้า สัตว์เลี้ยง สิ่งของ หรือแม้กระทั่งคนรอบข้าง  

            การอ่านตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งที่ปลูกฝังเรื่องของ “รักการอ่าน  และนำไปสู่พัฒนาการทางสมองคนมนุษย์ได้ดี  แม่มือใหม่หลายคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบฟังเพลง เล่นเกม หรือดูสารคดี  ซึ่งก็ถือเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการให้แก่ลูกน้อยได้เหมือนกัน  แต่มุมของการอ่านนั้น ถือว่าเราใช้ “อายตนะ” ทั้งภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และภายนอกคือ รูป รส กลิ่น เสียง  ถึงแม้จะใช้อายตนะได้ไม่ครบ แต่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ผ่านอายตนะได้ดี และจะสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย

            พ่อแม่บางคนอาจจะไม่ทันคิดว่าทำไมเราต้องอ่านตั้งแต่อยู่ในครรภ์  เพราะการซึมซัมที่จะมีสมาธิและตั้งใจฟังอะไรๆ  รอบข้างนั้นเริ่มต้นได้จากการอ่าน  ถือว่าการอ่านเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่พ่อแม่ทุกคู่ควรส่งเสริมให้แก่ลูกน้อย  เพราะนั่นคือก้าวแรกของการที่จะพาลูกน้อยให้เรียนรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี............
Read More

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มแรก...ที่แม่ควรอ่านให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

หนังสือทุกเล่มมีประโยชน์  แต่ใช่ว่าจะให้ประโยชน์ที่เหมือนกันทุกประการ  การอ่านหนังสือนั้นถือเป็นการเรียกสมาธิได้อย่างหนึ่ง  ได้ฝักทั้งทักษะการอ่าน การสะกดคำ และการคิดวิเคราะห์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าหนังสือเล่มไหนที่จะอ่านแล้วทำให้ลูกเป็นอย่างที่เราอยากให้เขาเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์



            “อยากให้เด็กฉลาดด้านไหนควรเลือกหนังสือด้านนั้นให้เด็ก”  ซึ่งการปลูกฝังการอ่านตั้งแต่อยู่ในครรภ์ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อย  เพราะเมื่อแม่อ่านหนังสือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติคืออารมณ์ร่วมไปกับหนังสือ  เช่นการเลือกหนังสือเพื่อสร้างความสนุกสนาน เมื่อแม่อ่านหนังสือก็จะมีอารมณ์ดี สนุกสนาน ทำให้จิตใจเบิกบานผ่องใส ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ให้รู้สึกเบิกบานสนุกสนานไปด้วยเช่นกัน 

            นอกจากนี้แม่อาจเลือกหนังสือประเภท ธรรมะ หรือบทสวดมนต์  เพราะการอ่านหนังสือประเภทนี้จะทำให้จิตใจเกิดความผ่องใส จิตบริสุทธิ์  รวมไปถึงทำให้รู้จักความดีความชั่ว  แยกแยะถูกผิดได้   ส่งผลให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์สามารถซึมซับสิ่งที่แม่สื่อสารทางจิตใจต่อลูกน้อยได้

            หนังสือภาพก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณแม่วัยใสจะสามารถหยิบขึ้นมาเพื่อเป็นหนังสือที่สื่อสารและพัฒนาการสมองของลูกน้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เนื่องจากหนังสือภาพเป็นหนังสือที่ไม่มีคำบรรยายการอ่านหนังสือภาพนั้นต้องอาศัยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  และนั่นทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองด้านความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกน้อยได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

            ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่จะเลือกหนังสือประเภทไหนที่จะนำไปสู่พัฒนาการทางสมองให้แก่ลูกน้อย  ซึ่งต่อไปจะมีการนำความรู้เกี่ยวกับการอ่านเพื่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยในช่วง 0 – 6 ปี  และช่วง 6 – 9 ปีกันต่อไป ว่าอ่านอย่างไรจะสามารถ “เปลี่ยน” ลูกน้อยได้……
Read More
loading...