วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลูกสะอึกบ่อยเป็นอันตรายไหม? เกิดจากอะไร? ต้องกินน้ำไหม?

อาการสะอึกเกิดจากการหดตัวแบบผิดจังหวะของกล้ามเนื้อกระบังลมที่เป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง (กล้ามเนื้อกระบังลม คือ อวัยวะที่กั้นอยู่ระหว่างปอดกับช่องท้อง ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ)
.
เด็กทารกมักมีอาการสะอึกบ่อยๆเป็นเรื่องปกติค่ะ มักเป็นตามหลังทานนมอิ่มๆ เนื่องจากกระเพาะ อาหารของเด็กทารกอยู่ชิดกับกล้ามเนื้อกระบังลม เมื่อมีการขยายขนาดของกระเพาะย่อมไปรบกวนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้มีการสะอึกเกิดขึ้น วิธีทำให้หยุดสะอึกมีหลายวิธี เช่น การอุ้มลูกพาดบ่าเดินไปเดินมาเพื่อเร่งให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ให้ลูกกลับมาดูดนมแม่ต่ออีกหน่อย หรือการดูดน้ำในกรณีที่เด็กกินนมผง เพราะการดูดจะไปตัดวงจรการสะอึก ทำให้หยุดสะอึกเร็วขึ้น


.
การสะอึกไม่เป็นอันตรายแก่ลูก โดยธรรมชาติแล้วเด็กจะหยุดสะอึกเองได้ (เหมือนการสะอึกเมื่อลูกอยู่ในท้องคุณแม่ ทำให้พุงคุณแม่กระเพื่อมเป็นจังหวะตึ้กๆๆ ไม่ต้องมีใครช่วยให้หยุดสะอึก แต่ลูกหยุดสะอึกได้เอง) อย่างไรก็ดี เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นหลัง 4-5 เดือน จะไม่มีอาการสะอึกบ่อยๆแล้ว หากลูกยังมีอาการสะอึกบ่อยและหยุดสะอึกยาก อาจเป็นอาการบ่งถึงความผิดปกติบางอย่าง เช่น

• ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม เช่น สมองอักเสบ เนื้องอกสมอง การได้รับบาดเจ็บที่สมอง

• ความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้กล้ามเนื้อกระบังลมทำให้มีการรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม เช่น การเป็นเนื้องอกของอวัยวะบริเวณใกล้กระบังลม ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ การไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารไปที่หลอดอาหาร ภาวะหลอดอาหารอักเสบ

• ความผิดปกติของเคมีในร่างกาย เช่น การได้รับอัลกอฮอลเกินขนาด ภาวะไตวาย

• การมีสิ่งแปลกปลอมหรือแมลงอุดตันในช่องหู

ดังนั้นหากคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการสะอึกที่อาจเป็นภาวะที่ผิดปกติดังกล่าวข้างต้น สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุการสะอึกที่แท้จริงได้ค่ะ

ข้อมูลจากสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีการเตรียมนมสต๊อกให้ลูกกิน

1.ย้ายนมแช่แข็งลงมาช่องน้ำเย็นให้ละลายในตู้เย็น 1 คืน วันรุ่งขึ้นเทใส่ขวดสะอาดปริมาณเท่าที่ลูกกินแต่ละครั้ง ฝึกลูกกินแบบเย็นๆคือดีที่สุด ไม่ทำให้ป่วยหรือเป็นหวัด สารอาหารอยู่ครบและกลิ่นหืนน้อยกว่านมอุ่น แต่ถ้าลูกไม่ยอมกิน ให้แช่ขวดในน้ำอุ่นหรือเปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่านขวด แต่อย่าให้น้ำโดนบริเวณฝาขวด เพื่อปรับให้เป็นนมอุณหภูมิห้อง ห้ามอุ่นบนเตาหรือไมโครเวฟ



2.นมที่ละลายแล้วหากยังไม่ได้กิน ตั้งอยู่ที่อุณหภูมิห้องแอร์ได้ 6-8 ชม. ถ้ากินเหลืออยู่ได้อีกเพียง 2 ชม. ให้ทิ้งได้เลย

3.นมที่ละลายแล้ว เก็บในช่องน้ำเย็นได้ 24 ชม. ห้ามเอากลับไปแช่แข็งอีกรอบ

การเก็บรักษานมสต๊อกในกรณีพิเศษ เช่น ไฟฟ้าดับ ภัยพิบัติ ส่วนในกรณีปกติให้ยึดตามหลักเกณฑ์ข้างบนเท่านั้นค่ะ

1.กรณีที่ทราบล่วงหน้าว่าจะไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้ใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าไม่ได้ ให้เตรียมที่ปั่นไฟ หรือ ที่ปั๊มนมใช้มือโยก หรือที่ปั๊มนมใช้แบตตารี่ หรือฝึกบีบด้วยมือ

2.การป้องกันไม่ให้นมแช่แข็งที่อยู่ในตู้แช่ละลาย ในกรณีที่ทราบล่วงหน้าว่าจะไม่มีไฟฟ้าใช้
เตรียมที่ปั่นไฟเพื่อใช้กับตู้แช่
ย้ายนมแช่แข็งไปแช่ที่อื่น
ถ้านมไม่เต็มตู้เแช่ ให้เอาน้ำใส่ถุงเข้าไปแช่แข็งถมพื้นที่อากาศให้เต็มตู้ตั้งแต่ยังมีไฟฟ้าใช้ เพื่อให้แข็งตัวเตรียมไว้ตอนไฟฟ้าดับ น้ำแข็งเหล่านี้จะช่วยให้นมแช่แข็งละลายช้าลง
ถ้าย้ายนมแช่แข็งไปไหนไม่ได้ อย่าเปิดตู้แช่โดยไม่จำเป็น ถ้านมเต็มตู้แช่และไม่เปิดเลย จะคงสภาพการแข็งได้นานถึง 48 ชม. (อ้างอิง via USDA) แต่ถ้ามีนมแช่แข็งเพียงครึ่งเดียวในตู้ ให้จัดนมแช่แข็งอยู่ตรงกลางตู้ เพราะจะเป็นบริเวณที่อุณหภูมิค่อนข้างคงที่มากที่สุด เอาหนังสือพิมพ์มายัดให้เต็มตู้แช่เพื่อให้มีอากาศน้อยที่สุด หรือเอาน้ำแข็งแห้งมาใส่ในตู้แช่ จะคงสภาพการแข็งได้ 24 ชม.

3.ถ้าไม่ทราบล่วงหน้าว่าไฟฟ้าดับ มาพบว่านมแช่แข็งละลายไปบางส่วนแต่ยังมีเกล็ดน้ำแข็งอยู่เกินครึ่ง ให้รีบทำให้แข็งใหม่โดยเร็ว ยังสามารถเก็บนมนั้นไว้ใช้ได้ และใช้นมส่วนนี้ให้หมดก่อน เพราะอายุการเก็บจะไม่นานเท่าเดิม (อ้างอิง via HMBANA’s best practice, 2005.)

4.ถ้านมไม่มีเกล็ดน้ำแข็งแล้ว ไม่สามารถกลับไปแช่แข็งได้อีก ถ้าไม่เย็นแล้ว ให้ทิ้ง ถ้ายังเย็นอยู่สามารถใช้ได้ภายใน 48 ชม.สำหรับเด็กปกติที่ไม่ใช่เด็กป่วยหรือเด็กคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าเป็นเด็กป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดใช้เกณฑ์ 24 ชม.
Read More

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เด็กๆ เรียนรู้จากสิ่งที่เค้าอยู่ด้วยทุกๆวัน

เด็กที่เติบโตมาจากบ้านที่แตกต่างกัน
ความรู้สึกภายใน จะแตกต่างกันแน่นอน !!
เราให้ลูกๆของเรา โตมากับบรรยากาศแบบไหนกันคะ ?


.
หมอเปิดอ่านหนังสือของ Dr.Dorothy Law Nolte
จิตแพทย์เด็กชื่อดัง เจ้าของบทกลอนดังเช่นกัน :)
children learn what they live !!!
ผู้เขียนร่วมอีกท่าน Rachel Harris

"ถ้าเด็กๆ เติบโตมากับการบ่น ว่า วิจารณ์
เค้าก็เรียนรู้ที่จะด่าว่าคนอื่น

ถ้าเด็กๆ อยู่กับการส่งเสริมให้กำลังใจ
เค้าจะเรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในตนเอง

ถ้าเด็กๆอยู่กับการชื่นชม 
เค้าเรียนรู้ที่จะกตัญญู เห็นคุณค่า

ถ้าเด็กเติบโตมา กับการยอมรับในตัวเค้า
เค้าเรียนรู้ที่จะชอบตนเอง :) "

หมอเปิดอ่านทีไร ก็รู้สึกโดนใจทุกที
เด็กเหมือนกับฟองน้ำ 
เค้าซึมซับทุกอย่างที่เราทำ
ทุกสิ่งที่เราพูด
เค้าเรียนรู้จากเราตลอดเวลา
ไม่ว่าเราจะสอน หรือไม่สอนเค้าก็ตาม

เด็กๆ เรียนรู้จากการกระทำ มากกว่าคำพูด !!!

ถ้าเราบ่นว่า ไม่ว่าจะตัวเด็ก หรือว่าคนอื่นๆ
เรากำลังโชว์เด็ก ทั้งคำพูด น้ำเสียง สายตา กิริยาท่าทาง
สอนเด็กในสิ่งที่ผิด มากกว่าสิ่งที่ถูกต้อง )))))))))))

การบ่น การทำโทษบ่อยๆ
ยิ่งจะเพิ่มระยะห่างของเด็กกับเรา
การกระตุ้นให้กำลังใจ บอกสิ่งที่ควรทำสั้นๆ ชัดเจน
เหมาะกับวัย ให้ทางเลือก กับเค้า
ชื่นชมให้กำลังใจเวลาเค้าทำสิ่งที่ดี
มันง่ายที่เด็กๆ จะให้ความร่วมมือมากกว่า
(จริงๆ หมอว่าไม่ใช่แค่เด็ก ผู้ใหญ่เองก็ไม่ต่างกัน 
ธรรมชาติมนุษย์ทุกคนเป็นเช่นนั้น :) )

ความจริงก็คือ เราทุกคนผิดพลาดได้ 
อุบัติเหตุต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้
และเราก็ปรับแก้ไข ให้ดีขึ้น ดีขึ้น ทุกวันได้เช่นกันค่ะ 

มาทำให้บ้าน เป็นบ้านที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่น่าอยู่
ให้เด็กๆของเราเติบโตขึ้นอย่างงดงามกันค่ะ :)

บทความโดย
หมอภา/Jeerapa prapaspong

Read More

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

10 ข้อดีของการให้นมลูกจากเต้า

จากการวิจัยพบว่าทารกที่ได้นมแม่แข็งแรงกว่าเด็กที่ได้นมผง เพราะนมแม่มีภูมิต้านทานโรคและสารอื่นๆที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรค วันนี้จะขอยกตัวอย่างข้อดีของการให้นมลูกจากเต้ามาสัก 10 อย่างค่ะ


นมแม่เป็นสารอาหารที่มาจากธรรมชาติ ปลอดภัยต่อลูกของเราที่สุด

จะหานมอะไรที่ปลอดภัยและได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการเทียบเท่านมแม่ไม่มีอีกแล้ว ต่อให้เทคโนโลยีของมนุษย์จะก้าวไกลไปแค่ไหน ก็ไม่อาจจะเลียนแบบนมสังเคราะห์ใดๆ หรือนมจากสัตว์อื่นๆ ที่ทั้งปลอดภัย และมีสารอาหารได้เสมอเหมือนนมแม่อีกแล้วในโลกนี้

เด็กที่เติบโตมาจากการกินนมแม่ แข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมวัว

เพราะในน้ำนมแม่ทุกหยด กลั่นมาจากภายในร่างกายของแม่เอง ภูมิต้านทานต่างๆ ในตัวของแม่ จะถูกถ่ายทอดผ่านน้ำนม เมื่อลูกได้กินนมแม่ก็จะได้รับภูมิต้านทานต่างๆ ไปด้วย ซึ่งนมวัวหรือนมสังเคราะห์อื่นๆ จะไม่มี ภูมิต้านทาน

หมดปัญหาลูกท้องผูก

เพราะนมแม่นั้นย่อยง่าย ทำให้ลูกไม่ต้องทรมานกับอาการท้องผูก แต่หากลูกของเรากินนมวัวหรือนมประเภทอื่นจะพบปัญหาท้องผูกได้มากกว่า

หมดปัญหาเรื่องลูกอ้วนเกินไป

เคยเห็นเด็กทารกตัวอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักใช่ไหมค่ะ แต่บ่อยครั้งเด็กแรกเกิดที่เราเห็นอ้วนจ้ำหม้ำน่ารักนั้นก็มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน สาเหตุมาจากการเลี้ยงลูกด้วยนมวัวหรือนมสังเคราะห์ชนิดอื่นๆ นั้นเอง ในขณะที่การ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ลูกของเราจะไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินเลย น้ำหนักตัวของลูกจะเป็นไปตามมาตราฐานของเด็กในแต่ละวัยแบบธรรมชาติ

โอกาสเกิดผื่นผ้าอ้อมน้อยกว่า

ผื่นผ้าอ้อมเกิดจากความอับชื้น และเกิดปฏิกริยาของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกรณีที่เราเลี้ยงลูกด้วยนมวัวนั้น ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียมากกว่า เมื่อมารวมกับความอับชื้น (จากการใส่ผ้าอ้อม) ผิวของลูกจะเกิดอาการ ผื่นแดงๆ (จึงเรียกว่าผื่นผ้าอ้อม) ซึ่งหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ของเสียของลูกจะมีเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่ามาก โอกาสที่ลูกจะต้องทรมานกับอาการผื่นผ้าอ้อมก็จะลดลงด้วย

สานสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก

การให้ลูกได้ดูดนมจากอกแม่เอง เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบาย มีแต่แม่ที่เคยให้ลูกดูดนมจากอกตัวเองเท่านั้นถึงจะบรรยายความรู้สึก ความสุขใจ ที่เกิดขึ้นในตัวของแม่คนนั้นได้เอง นอกจากนั้นตลอดเวลาที่ลูกดูดนม จากอกแม่ ลูกก็จะมองหน้าแม่ของตัวเอง ซึ่งช่วงเวลาที่ให้นมลูกนั้น เป็นช่วงเวลาที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะแม่ลูกจะได้สบตา ได้พูดคุย ได้แสดงความรักต่อกัน ทำให้ลูกสามารถรับรู้ได้ว่าแม่ของเขารักเขามากแค่ไหน นอก จากนั้นการที่ลูกดูดนมจากอกของแม่บ่อยๆ จะทำให้ลูกจำกลิ่น เสียง หน้าตา และสัมผัสต่างๆ ของแม่ได้เร็วกว่าเด็กที่กินนมจากขวดนม

ร่างกายของแม่จะผอมเร็วกว่า

หลังจากคลอดลูก ร่างกายของคุณแม่แม้ว่าจะน้ำหนักลงไปบ้าง แต่ระบบภายใน รวมถึงมดลูกอาจจะยังไม่เข้าที่เท่าที่ควร การเลี้ยงลูกโดยให้ลูกดูดนมแม่จากอกนั้น จะช่วยกระตุ้นร่างกายของแม่ให้หลั่งฮอร์โมนชนิดหนึ่ง (ซึ่งจะออกมาเฉพาะตอนที่ให้ลูกดูดนมแม่เท่านั้น) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้มดลูกหดตัวเข้าที่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการที่ร่างกายต้องผลิตนมแม่จะช่วยเผาผลาญไขมันต่างๆ ตามหน้าท้องออกไปด้วย ทำให้รูปร่าง ของแม่ที่เพิ่งคลอดลูก กลับมาผอมเพรียวได้เร็วกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมวัว โดยเฉลี่ยแล้วการที่เลี้ยงลูกเอง ให้ลูกกินนมจากอกแม่เอง น้ำหนักตัวของแม่จะลดลงเฉลี่ยเดือนละ 1-2 กิโลกรัม ซึ่งหากเราให้ลูกกินนมแม่ตลอด 6 เดือนแรกหลังคลอด น้ำหนักตัวและรูปร่างของคุณแม่ก็จะเข้ารูปและเกือบจะกลับมาเป็นปกติ

เป็นอาหารที่สะดวกที่สุดสำหรับลูกตลอด 24 ชม.

นมแม่เป็นแหล่งเติมพลังของลูกน้อยของเราที่สามารถให้ลูกกินได้ตลอด 24 ชม. เมื่อไรที่ลูกหิว เราก็สามารถให้ลูกกินนมจากอกของเราได้ทันที ไม่ต้องพกขวด น้ำร้อน นมผง ฯลฯ ให้ยุ่งยาก สะดวกและรวดเร็วทันใจ ลูกที่สุดแล้วละค่ะ

เป็นนมอุ่นๆ พร้อมดื่มได้ตลอดจากอกแม่

คุณสมบัติที่พิเศษที่หานมอื่นๆ ในโลกนี้ไม่ได้อีกแล้วนั้นคือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น แม่ไม่ต้องกังวลว่านมแม่นั้นจะร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปสำหรับลูก เพราะนมแม่ที่ออกมาจากเต้านั้น จะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะกับ ลูกของเราทันที หากเลี้ยงลูกด้วยนมวัว เราคงต้องตรวจสอบก่อนเสมอว่านมที่ผสมนั้นจะร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไปหรือไม่

ไม่ต้องเสียเงินค่านมแพงๆ รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ

ค่านมผงชนิดต่างๆ นั้น ปัจจุบันราคาถีบตัวสูงมากขึ้น ไหนจะค่าขวดนม ค่าน้ำยาล้างขวดนม อุปกรณ์ล้างขวดนม ฯลฯ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะหมดไปหากเราเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะนมแม่กลั่นมาจากร่างกายของแม่เอง ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ อีก

นอกจากนั้น การที่ลูกดูดนมแม่ยังส่งผลช่วยลดน้ำหนักตัวของแม่หลังคลอดได้ ช่วยไม่ให้มีปัญหาตกเลือดเพราะมดลูกบีบตัวดีขึ้น สร้างความภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองของความเป็นแม่
Read More

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

พัฒนาการของเด็กวัย 1 เดือน

    ยกศีรษะได้ชั่วครู่(นอนคว่ำ)
    สบตา
    จ้องหน้าแม่

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก
– เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม
– อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง

พัฒนาการของเด็กวัย 2 เดือน

    ชันคอในท่าคว่ำ
    รู้จักยิ้มตอบ
    คุยอ้อแอ้ ทำเสียงอือ อา อยู่ในคอ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– เล่นกับลูกโดยแขวนของสีสด ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอกให้ลูกมองตาม
– พูดคุยทำเสียงต่างๆ และร้องเพลง
– ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป

พัฒนาการของเด็กวัย 3 เดือน

    ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง
    ยกศีรษะได้ 45 องศา
    เริ่มพลิกคว่ำ
    ส่งเสียงโต้ตอบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก
– ให้ลูกนอนเปล หรืออู่ ที่ไม่มืดทึบ

*ถ้าลูกอายุ 3 เดือน แล้วลูกไม่สบตา หรือ ยิ้มตอบ ไม่ชูคอในท่านอนคว่ำ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

พัฒนาการของเด็กวัย 4 เดือน

    เริ่มส่งเสียงอ้อแอ้หัวเราะเอิ๊กอ๊าก เสียงดัง
    มองตามสิ่งของหรือคนที่เคลื่อนไหวในระยะห่าง 6 นิ้ว
    เริ่มไขว่คว้า
    ยกศีรษะได้เต็มที่ ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กินนมแม่อย่างเดียว
– จัดที่ที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ
– เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า
– ชมเชย ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำได้

พัฒนาการของเด็กวัย 5 เดือน


    นอนคว่ำใช้แขนยันยกหน้าอกขึ้นได้
    พลิกคว่ำ พลิกหงาย
    ไม่ตื่นกลางดึก
    เอื้อมมือคว้า
    คืบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบไปหา
– พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก
– พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว

พัฒนาการของเด็กวัย 6 เดือน

    คว้าของมือเดียว
    หันหาเสียงเรียกชื่อ
    ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบ
    ยันตัวลุกขึ้นนั่ง(แต่นั่งได้ไม่นานหรือต้องมีที่พิงหลัง)
    ฟันซี่แรกเริ่มโผล่พ้นเหงือก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
– เล่นโยกเยกกับเด็ก
– หาของให้จับ

* ถ้าลูกอายุ 6 เดือน แล้วไม่มองตาม หรือ ไม่หันตามเสียง หรือ ไม่สนใจคนมาเล่นด้วย ไม่ พลิกคว่ำหงาย ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

พัฒนาการของเด็กวัย 7 เดือน

    นั่งทรงตัวได้เอง
    เปลี่ยนสลับมือถือของได้
    หยิบอาหารใส่ปาก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
– ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ – หยาบ อ่อน – แข็ง
– ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า – ออก จากถ้วย หรือกล่อง

พัฒนาการของเด็กวัย 8 เดือน


    มองตามของที่ตก
    แปลกหน้าคน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม
– พูดและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ

พัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือน

    คลานเก่ง
    เข้าใจเสียงห้าม
    เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ
    ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็ก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน
– หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม
– ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้

พัฒนาการของเด็กวัย 10 เดือน

    เหนี่ยวตัว ตั้งไข่ ลุกขึ้น เกาะยืน เกาะเดิน
    ส่งเสียงต่างๆ “หม่ำ หม่ำ”, “จ๊ะ จ๋า”

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
– จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย
– เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ

พัฒนาการของเด็กวัย 11 เดือน
    ตบมือ
    โบกมือบ๊ายบาย
    พูดคำแรก

พัฒนาการของเด็กวัย 12 เดือน

    ก้าวเดินได้เอง

* ถ้าลูกอายุ 1 ปี ยังไม่เกาะเดิน ไม่สามารถใช้นิ้วมือหยิบของกินเข้าปาก ไม่เลียนแบบท่าทาง และเสียงพูด ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บันทึกพัฒนาการเด็กต่อไปนี้ แสดงความสามารถตามวัยของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมี พัฒนาการเร็ว – ช้า แตกต่างกัน ถ้าถึงอายุที่ควรทำได้แล้วเด็กทำไม่ได้ ควรให้โอกาสฝึกก่อน ใน 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
Read More

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ไวรัสซิกา (Zika virus) คืออะไร เกี่ยวกับคนท้องอย่างไร?

เห็นข่าวช่วงนี้มีคนท้องติดเชื้อไวรัสซิก้า จนทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรดี วันนี้เลยพามาทำความรู้จักกับ ไวรัสซิก้ากันค่ะ



ไวรัสซิก้านั้นเป็นไวรัสซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซิก้าไวรัสสามารถติดต่อได้จากยุงกัด

ผู้ป่วยจากไวรัสซิก้านั้นจะมีไข้ อาจจะมีผื่น ปวดตามข้อ และตาแดง โดยปกติแล้วอาการโดยรวมจะไม่รุนแรงมากและหายได้เองภายในไม่กี่วัน ผู้ป่วยอาการหนักพบได้น้อยและอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล มีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิก้าที่ประเทศบราซิลเมื่อกลางปี 2558 การระบาดในประเทศบราซิลนั้นเชื่อว่าทำให้เกิดความผิดปกติของบุตรที่เกิดจากหญิงที่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยืนยันทางแพทย์ยังไม่ชัดเจน

การติดต่อ

ยุงลาย เป็นพาหะสำคัญของไวรัสซิก้า ซึ่งเป็นพาหะนำโรคชนิดเดียวกับไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่และไข้เลือดออกชิคุนกุนย่า ยุงลายชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง สะอาด เช่น แหล่งน้ำในครัวเรือน มีรายงานพบว่าหญิงที่ใกล้จะคลอดบุตร สามารถถ่ายทอดเชื้อสู่บุตรได้ และมีรายงานว่าเชื้อไวรัสสามารถผ่านทางน้ำนมได้ อย่างไรก็ตาม กลไกในการถ่ายทอดผ่านการตั้งครรภ์และน้ำนมนั้นยังไม่ชัดเจน และพบได้น้อยมาก



อาการแสดง

โดยทั่วไปพบว่าราว 1 ใน 5 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสซิก้านั้นจะป่วยและแสดงอาหาร ระยะฟักตัวของโรคยังไม่แน่ใจ แต่น่าจะอยู่ในช่วงเดียวกับไข้หวัดใหญ่ คือ สองสามวันไปจนถึงเป็นสัปดาห์ อาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีไข้ มีผื่นขึ้น ปวดตามข้อ และตาแดง บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล อัตราตายพบน้อย

การวินิจฉัย

ขณะนี้ยังไม่มีเครื่องมือวินิจฉัยที่ทำได้ในสถานพยาบาลทั่วไป แพทย์อาจซักประวัติว่าผู้ป่วยเดินทางไปยังประเทศที่เสี่ยงมาหรือไม่ อาการของโรคโดยรวมนั้นคล้ายกับไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก ดังนั้นในประเทศไทย แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคจากไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออกด้วย


การรักษา

ส่วนใหญ่เป็นการดูแลตามอาการเป็นหลัก ยาต้านไวรัสหรือวัคซีนยังไม่มีในขณะนี้ เนื่องจากในประเทศนั้นตัวโรคมีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ จึงมีข้อควรระวังเนื่องจากอาจจะแยกโรคได้ยากในช่วงต้น คือการงดใช้ยาแก้ปวดและลดไข้กลุ่ม NSAIDs เนื่องจากรบกวนการทำงานของเกร็ดเลือดและเสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย


การป้องกัน

ทำได้โดยป้องกันยุงกัดเป็นหลัก หลักการป้องกันและควบคุมโรคในไทยสามารถใช้หลักการเดียวกับการป้องกันไข้เลือดออก โดยธรรมชาติของยุงลายนั้นจะชอบกัดในเวลากลางวัน การสวมเสื้อผ้ามิดชิด อยู่ในมุ้งหรือใช้มุ้งลวด สามารถลดความเสี่ยงของการโดนยุงกัดได้ สิ่งสำคัญคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งมักเป็นภาชนะที่มีน้ำขังในครัวเรือน เช่น ถ้วยชามที่มีน้ำขัง แม้แต่เศษขยะก็มีน้ำขังได้


สถานการณ์โรค

ขณะนี้ยังไม่พบรายงานของการติดเชื้อไวรัสซิก้าในไทยหรือประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศที่พบผู้ป่วยนั้น อยู่ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่เม็กซิโกลงไปถึงกลุ่มประเทศอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบการติดเชื้อในเกาะประปรายในมหาสมุทรแอตแลนติค หากเดินทางไปยังประเทศเหล่านี้ภายใน 30 วัน และเกิดอาการเจ็บป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งประวัติเหล่านี้ให้แพทย์ทราบ

เนื่องจากมีความกังวลถึงความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไวรัสซิก้ากับความผิดปกติของการตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้มจะตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด

เนื่องจากไวรัสซิก้าติดต่อจากยุงลายกัด ดังนั้น ตัวไวรัสจะไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยตรงจากการสัมผัส หรือไอจาม อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้น บางครั้งอาการเจ็บป่วยแยกจากไข้หวัดใหญ่ได้ยาก จึงควรมีมาตรการป้องกันเสมอ เมื่อเข้าใกล้ผู้ที่มีกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น การล้างมือ การไอจามต้องปิดปากทุกครั้ง


ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ได้แก่
ผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ ที่มีการระบาดโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจติดเชื้อแล้วทำให้ทารกคลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้

โดยสรุป


  • ไวรัสซิก้าติดต่อจากยุงลายกัด
  • ยังไม่มีรายงานของผู้ป่วยในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามควรเฝ้าระวังใกล้ชิด เพราะประเทศไทยมียุงลาย
  • กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดและมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
  • อาการของโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดข้อ อาจมีผื่นและตาแดง
  • ระยะฟักตัวไม่แน่ชัด แต่คาดว่าคล้ายไข้หวัดใหญ่คือสองสามวันถึงสัปดาห์
  • อาหารของโรคไม่รุนแรงและหายได้อง ส่วนน้อยจะมีอาการหนักและต้องรักษาในโรงพยาบาล
  • ยังไม่มีการรักษาจำเพาะ ส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการ
  • ผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ยังคงต้องแยกโรคจากไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก
  • ป้องกันยุงลายกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 


ที่มา - Bangkok Hospital
Read More

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

ผู้บริโภคควรรู้ ตัวย่อ MFG,MFD,EXP, EXD, BB ,BBE คืออะไร

ตัวย่ออย่าง MFG,MFD,EXP, EXD, BB หรือ BBE คืออะไร สินค้าอะไรบ้างที่เรามักจะเจอตัวย่อแบบนี้ อย่างเช่น สินค้าจำพวกอาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชสำอาง ต่างๆ  ซึ่งมักจะพบตัวย่อเหล่านี้ติดอยู่บนฉลาก  มาดูความหมายของตัวย่อแต่ละตัวกันดีกว่าครับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้นๆได้อย่างถูกต้อง





MFG/MFD   Manufacturing Date /Manufactured Date         วันที่ผลิต
EXP/ EXD   Expiry Date /Expiration Date                          วันที่หมดอายุ
BB/BBE      Best Before/Best Before End                           ควรบริโภคก่อนวันที่  

ตัวอย่าง
คำย่อ MFG. date หรือ MFd ย่อมาจากคำว่า manufacturing date แปลว่าวันที่ผลิต
* MFd 22/8/09 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 22 เดือนสิงหาคม ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552
* MFG. date 15.12.52 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ.2552
* MFd AUG.09 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.2009 หรือ พ.ศ.2552

EXP หรือ Exp.date ย่อมาจากคำว่า expiration date แปลว่า วันที่หมดอายุ เช่น

* EXP JUL 10 หมายถึง ยานี้หมดอายุเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2010 หรือพ.ศ.2553
* Exp. date 15.12.53 หมายถึง ยานี้หมดอายุวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ.2553

Reg. No. ย่อมาจากคำว่า registered number แปลว่า เลขที่ทะเบียนยา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ออกให้ ตัวอักษร A B C บอกว่าเป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบัน โดย A คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ B คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วมาแบ่งบรรจุภายในประเทศ C คือ ยาสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (ไม่มีการแบ่งบรรจุภายหลัง)

ส่วนตัวเลขที่ใช้นำหน้าอักษร A B C ซึ่งมี 1 และ 2 มีความหมายดังนี้ 1 คือ ยาเดี่ยว (มีตัวยาสำคัญตัวเดียว) 2 คือ ยาสูตรผสม (มีตัวยาสำคัญหลายตัว)

เพราะฉะนั้น Reg. No.1A จึงบอกเราว่า ยานี้เป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ ซึ่งเป็นยาเดี่ยว ส่วน Reg. No. 2A บอกเราว่ายานี้เป็นยาสำเร็จรูปแผนปัจจุบันที่ผลิตขึ้นภายในประเทศและเป็นยา สูตรผสม

Batch. No. หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิต ถ้ายามี Batch. No. เหมือนกัน แสดงว่า ผลิตออกมาครั้งเดียวกัน

L & C. No. ย่อมาจาก lot and control number หมายถึง เลขที่ครั้งที่ผลิตและควบคุมคุณภาพ มีความหมายคล้ายกับ Batch. No.

ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลากอาหาร กำหนด    ให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะ  บรรจุโดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับอาหารนั้น และข้อมูลที่ต้องมีคือข้อมูลความปลอดภัยที่ประกอบด้วย   วันที่ผลิต/หมดอายุ วิธีการเก็บรักษา วิธีปรุง และคำเตือนต่างๆ แต่กฎหมายเปิดทางให้บริษัทผู้ผลิตสามารถใช้คำว่า “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” ก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในความหมายของคำสองคำนี้ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขออธิบายความหมายของคำสองคำ      นี้ก่อน

“หมดอายุ”  หมายถึง วันที่อาหารนั้นหมดอายุ หลังจากวันนั้นแล้วอาหารจะเน่าเสีย หรือบูด ห้ามรับประทาน ควรนำไปทิ้ง

“ควรบริโภคก่อน” หมายถึง อาหารจะมีรสชาติดี ยังคงคุณค่าทางอาหารครบถ้วนตามที่ ระบุไว้บนฉลากอาหารจนถึงวันนั้น หลังจากวันนั้นไปรสชาติ คุณภาพและคุณค่าทางอาหารจะลดลง แต่จะไม่มีปัญหาในเชิงความปลอดภัย จึงยังสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย แต่อาจไม่ได้ประโยชน์จากอาหารนั้นตามที่ระบุไว้บนฉลากอาหารก็ได้ และจะกำหนดวันล่วงหน้าไว้ระยะหนึ่งก่อนที่อาหารนั้นจะหมดอายุหรือเสีย

เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะซื้อยาให้ลูกก็ควรดูข้อมูลสินค้าจะได้ไม่เสียประโยชน์นอกจาก วันทีผลิต วันหมดอายุ ควรบริโภคก่อน ก็อาจยังมีข้อมูลอื่นๆที่ระบุบนสินค้าด้วย เช่น ล็อตการผลิต การยิงตัวเลข running number เป็นต้น

เครดิตจากหมอชาวบ้าน
Read More

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เมื่อลูกเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล รับมืออย่างไรดี?

อา การเป็นหวัดถ้าไม่เป็นหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ก็มักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ มาสร้างความรำคาญให้เราจะมีวิธีการอะไรรับมือกับอาการเหล่านี้หรือเปล่า เรามีข้อมูลมาให้คุณผู้อ่านทราบกันนะครับ



น้ำมูกไหล

อาการน้ำมูกไหลแบบใสๆ นั้น บางทีก็เกิดจากการแพ้อากาศธรรมดา ไม่ได้เป็นหวัด น้ำมูกใสทำให้คันจมูกยุกยิก เหมือนจะจามแต่ก็ไม่จามสักทีน่ารำคาญพิลึกเลยนะครับ การใช้ยาลดน้ำมูกก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ได้ผลดีที่สำคัญก็คือต้องอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจก่อน เพราะยาลดน้ำมูกอาจมีผลข้างเคียงหรือหากรับประทานร่วมกับยาอื่นหรือแอลกอฮอล์ ก็อาจเป็นอันตรายได้หากน้ำมูกมีลักษณะมีอาการผิดปกติเช่น มีไข้ร่วมด้วย น้ำมูกเปลี่ยนสีมีเลือดปน หรือใสนานเกือบเดือน ควรไปพบแพทย์

เสมหะ

นอกจากน้ำมูกไหล เราอาจรู้เหมือนมีเสมหะออกมาที่คอ ทำให้หายใจไม่สะดวก อันที่จริงโพรงจมูกของเราก็จะสร้างเมือกเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ออกมาตามปกติแล้วเมือกเหล่านี้ก็จะไหลลงคอไปโดยเราไม่รู้ตัว โดยเมือกเหล่านี้จะจับสิ่งต่างๆ ที่เราหายใจเข้าไปด้วย เช่น ฝุ่นละอองต่างๆ แล้วนำไปกำจัดต่อไปที่ระบบย่อยอาหาร แต่เมื่อเรามีอาการภูมิแพ้หรือเป็นหวัด ร่างกายก็จะสร้างเมือกออกมามากขึ้น จนเรารู้สึกเหมือนมีเสมหะอยู่ที่ลำคอที่ทำให้เรากระแอมบ่อยๆ ซึ่งทำให้เจ็บคอได้ถ้าเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยง สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อหล่อลื่นให้เมือกไหลลงคอได้สะดวก หรืออาจจะใช้น้ำเกลือล้างจมูกหรือใช้น้ำเกลือ 1 ช้อนชากับน้ำอุ่นสองถ้วย กลั้วคอ

คัดจมูก

อาการคัดจมูกนั้นเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ไวรัส อาการภูมิแพ้โดยสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละอองเกสร ขนของสัตว์
อาจทำให้โพรงจมูกบวมจนปิดทางเดินหายใจ หรือบางทีมีอาการเยื่อจมูกอักเสบทำให้หลอดเลือดที่จมูกขยายตัว จนปิดทางเดินหายใจ
บางคนเวลาเครียดมากๆ ก็ทำให้เยื่อจมูกอักเสบได้เช่นกัน วิธีแก้คัดจมูกนั้นมีหลายวิธีเช่น สูดไอน้ำร้อนเพื่อละลายเมือก ทำให้
หายใจโล่ง ดื่มน้ำมากๆ แต่ไม่ควรเป็นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกายหรือพวกประเภทน้ำต้มยำ
เพราะกลิ่นของข่า ตะไคร้ใบมะกรูด บวกกับความเผ็ดร้อนของพริกและรสเปรี้ยวของมะนาว ทำให้อาการคัดจมูกหายไปได้พักใหญ่

ถ้าจะให้ดีก็อย่าให้เป็นหวัดคัดจมูกน้ำมูกไหลเลยดีกว่า ดังนั้นใครที่ตากฝนหรือเจอละอองฝนแม้เพียงเล็กน้อย ก็ต้องรีบอาบน้ำ
เปลี่ยนเสื้อผ้า และทำร่างกายให้อบอุ่น แต่ในบางสถานการณ์เราก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การเสริมสร้างร่างกาย
ให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งการออกกำลังกาย อาหารการกินและการพักผ่อน ร่างกายจะได้มีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเจอพายุฝนสักกี่วัน ก็จะไม่เป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ให้รำคาญใจกันนะครับ

ข้อมูลจาก : นิตยสาร update เดือนกรกฎาคม2549
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปลาสวาย สุดยอดปลาน้ำจืดที่มีโอเมก้า 3 สูง

โดยส่วนใหญ่พอได้ยินคำว่า "โอเมก้า 3" เราก็มักจะนึกถึงกรดไขมันชั้นดีที่มีอยู่ในปลาทะเล อย่าง ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาแมคคาเรล ซึ่งปลาเหล่านี้เป็นปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาค่อนข้างสูง
.
จึงไม่ค่อยมีใครนึกถึงปลาน้ำจืดของไทย ว่าจริงๆแล้วก็มีปลาบางชนิดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงไม่แพ้ปลาทะเลจากเมืองนอกเลย


ซึ่งปลาที่ว่าก็คือ ปลาสวาย เป็นปลาน้ำจืดที่มีโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาทะเล
สูงกว่าปลาแซลมอน 3 เท่า 
ไม่ต้องไปซื้อปลาทะเลแพงๆ ให้ลูกทานนะคะ ปลาน้ำจืดของบ้านเรานี่แหล่ะ สดใหม่กว่าปลาแช่แข็งที่นำเข้าจากเมืองนอกค่ะ
.

.
สำคัญ: ในนมแม่มีไขมันโอเมก้า3 ที่ร่างกายจะดึงจากไขมันในร่างกายของแม่ มากลั่นเป็นน้ำนมเพื่อบำรุงสมองของลูกนะคะ
.
นอกจากนี้ปลาช่อน ยังมีโอเมก้า 3 สูง ถึง 870 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม 
ปลากะพงขาว มีโอเมก้า 3 ประมาณ 310 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม และที่สำคัญหาซื้อง่าย แถมราคายังถูกกว่าปลาทะเลน้ำลึกอีกด้วย 
.
ที่มา : เว็บไซต์ สสส. และโพสต์ทูเดย์

Read More

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การตั้งท้องที่สองต่างจากท้องแรกหรือไม่

คุณแม่ท้องที่สองมักรับรู้สัญญาณการตั้งครรภ์ในช่วงต้นได้ไวกว่าท้องแรก ท้องที่สองมีแนวโน้มว่าขนาดท้องจะใหญ่เร็วกว่าและมีขนาดท้องที่ใหญ่กว่าเพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องและมดลูกเคยผ่านการขยายตัวมาแล้ว ท้องที่ใหญ่ขึ้นอาจส่งผลต่อการปวดหลังและการเจ็บครรภ์ที่มากขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องที่หลวมตัวมากขึ้นจะทำให้คุณแม่รู้สึกถึงการเตะของลูกได้ได้เร็วขึ้น อาจรู้สึกถึงการเตะของลูกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ การคลอดครั้งที่สองมักจะง่ายและเร็วกว่าเพราะกล้ามเนื้อต่างๆเคยหย่อนและคลายตัวตอนคลอดครั้งแรกแล้ว การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องที่หย่อนตัวกลับแข็งแรงขึ้น เพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องที่หย่อนนี้จะทำให้เกิดเจ็บท้องและปวดหลังมากขึ้น การควบคุมจังหวะชีวิตให้ช้าลงและผ่อนคลายจิตใจไม่เครียดจะช่วยลดอาการปวดหัวตอนเช้าๆ เพราะความเครียดที่เกิดจากการเลี้ยงลูกคนแรกด้วยจะทำให้หมดพลังงานได้ง่ายๆและเป็นตะคริว ดังนั้นระหว่างวันควรหยุดพักให้บ่อยขึ้น


เพิ่งคลอดได้สามเดือนแล้วตั้งท้องลูกคนใหม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร
          ร่างกายของคุณแม่ยังไม่กลับมาสมบูรณ์พร้อม แต่ต้องไม่เครียดกับการเตรียมตัว การกินอาหารร่างกายแม่อาจยังสะสมวิตามินและสารอาหารต่างๆไม่ทัน ฉะนั้นต้องกินเข้าไปชดเชยมากกว่าปกติเพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่และคุณลูกในครรภ์ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ โดยเน้นที่โปรตีนและธาตุเหล็ก อย่างไรก็ดีควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้อาหารเสริม ต้องตั้งเป้าเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะสม หากให้นมลูกคนแรกด้วยต้องแน่ใจว่าไม่ฝืนร่างกายคุณแม่ ถ้าร่างกายไม่ไหวควรใช้นมผงช่วยหรือหย่านมแม่เลย ต้องให้แน่ใจว่าอาหารที่แม่กินจะมีพลังงานเพียงพอสำหรับแบ่งให้ลูกที่กินนมแม่และลูกในท้องด้วย คุณแม่พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้มากกว่าคนทั่วไป หาคนมาช่วยแบ่งเบางานบ้านและงานที่ไม่จำเป็น ร่วมทั้งหาผู้ช่วยเลี้ยงลูกคนแรกด้วย


เคยมีปัญหาการคลอดก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ครั้งแรก
            เคยมีปัญหาการคลอดก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ครั้งแรก และกลัวว่าจะเกิดซ้ำในการตั้งท้องที่สอง ก่อนอื่นเมื่อตั้งครรภ์ท้องที่สองควรบอกแพทย์เมื่อฝากครรภ์ไว้ก่อนว่ามีประวัติการคลอดก่อนกำหนด แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเสริมการตั้งครรภ์ในช่วงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 จนถึงสัปดาห์ที่ 36 เพื่อลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด โปรเจสเตอโรนเป็นฮอร์โมนของการตั้งครรภ์
Read More

โปรตีนนุ่ม CPP คืออะไร และดีต่อทารกอย่างไร

 “นมแม่” คือ นมที่ดีสุดสำหรับเด็กเล็กช่วง 1 ขวบปีแรก และควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดเท่าทีจะทำได้  แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องให้นมผงกับลูก ควรพิจารณาเลือกนมที่มี CPP โปรตีนนุ่ม และ ไขมันที่ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยสารอาหารธรรมชาติ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมพัฒนาการรอบด้านที่ดีให้กับลูกรัก และพัฒนาสมอง เด็กเล็กช่วง 1 ขวบปีแรกกระบวนการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์ โปรตีนจากนมที่ลูกดื่มต้องเป็นโปรตีนคุณภาพ มีความนุ่ม ย่อยง่ายสบายท้อง  จากการศึกษาพบว่า โปรตีนนุ่ม ( Casein phosphopeptidesหรือ CPP) เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับทารก เรามาทำควารู้จักกับสุดยอดโปรตีน โปรตีนนุ่มCPP กันค่ะ



โปรตีนนุ่ม CPP คืออะไร
โปรตีนนุ่ม หรือ Casein phosphopeptides ตัวย่อ CPP คือ โปรตีนที่มีลักษณะที่อ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ช่วยในการดูดซึมเกลือแร่ต่างๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปใช้ได้ทันที

โปรตีนนุ่ม CPP ดีต่อทารกอย่างไร 
เด็กเล็กช่วง1 ขวบปีแรก ระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ กระบวนการย่อยและการดูดซึมโปรตีนในนม เมื่ออยู่ในสภาพเป็นกรดในกระเพาะอาหารจะอยู่ในรูปก้อนโปรตีน หรือ Curd ซึ่งเป็นการจับตัวกันหลายๆ โมเลกุลของ เคซีน ซึ่งเมื่อถูกย่อยโดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร จะแตกตัวออกเป็นโมเลกุลย่อยๆ คือ Casein phosphopeptides (CPP) ซึ่งจะถูกย่อยต่อไปในลำไส้เล็ก และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในรูปกรดอะมิโน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายต่อไป เนื่องจากเด็กเล็กช่วง1 ขวบปีแรก ระบบการย่อยและการดูดซึมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่หากเด็กได้ดื่มนมที่มีโปรตีนโมเลกุลอัดกันแน่นย่อยยาก จะส่งผลทำให้เด็กไม่สบายท้อง ร้องกวนโยเย ท้องอืด จากนมย่อยยากดูดซึมยาก ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ เด็กดื่มนมที่มีโปรตีนนุ่ม CPP จึงช่วยลดปัญหาอาการไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องผูกได้เป็นอย่างดี

CPP โปรตีนนุ่มหาได้จากไหน
CPP โปรตีนนุ่มพบมากในนมแพะ โดยนมแพะนอกจากจะมี CPP โปรตีนนุ่มที่เพิ่มการดูดซึม แคลเซียม เหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม สู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว นมแพะยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และนมแพะยังมีระบบสร้างน้ำนมแบบ อะโพไครน์ มี Bioactive Components จากธรรมชาติในปริมาณสูงอีกด้วย



ขอบคุณข้อมูล : mamaexpert
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

9 สาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก

1.ประวัติเคยเป็นโรคปีกมดลูกอักเสบมาก่อน (Pelvic inflammatory disease: PID) ซึ่งการติดเชื้อทำให้เกิด การทำลายสภาพปกติของท่อนำไข่ ซึ่งเป็นที่เดินทางของไข่  ซึ่งปกติภายในท่อนำไข่จะมี เซลล์ ที่คล้ายนิ้วมือเล็ก ๆ (Cilia) คอยโบกให้ตัวอ่อนเคลื่อนตัวเข้าไปสู่โพรงมดลูก เมื่อเซลล์เหล่านี้เสียหายก็ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเคลื่อนที่ไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด



2.ภาวะมีบุตรยาก และการกระตุ้นการตกไข่ด้วยฮอร์โมนในปริมาณสูงๆ มีโอกาสเกิดท้องนอกมดลูกได้สูงกว่าคนปกติถึง 4 เท่า นอกจากนี้ในกลุ่มผู้มีบุตรยากมักมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ซึ่งมักทำให้เกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่ ทำให้ท่อนำไข่ผิดรูป และตีบตันได้

3.การใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine device: IUD) โอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกประมาณร้อยละ 3-4 โดยห่วงอนามัยชนิดที่มีทองแดงมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกน้อยกว่าห่วงชนิดอื่นๆ เพราะกลไกของห่วงอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ภายในโพรงมดลูกเท่านั้น


4.การเคยได้รับสารกลุ่ม diethylstilbestrol(DES) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง หรือ เอสโตรเจน (Estrogen)ในระดับสูงๆ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่าคนปกติ 3-5 เท่า ปัจจุบันยานี้เลิกใช้ไปแล้ว แต่พบว่าการที่ผู้หญิงบางคน ได้รับยาคุมกำเนิดชนิดหลังร่วมเพศ ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงๆ  ก็มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้สูงขึ้นเช่นกัน

5.การผ่าตัดบริเวณท่อนำไข่ การขูดมดลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดพังผืดหลังผ่าตัด รบกวนการเดินทางของไข่

6.การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดตั้งครรภ์นอกมดลูกมากกว่าคนปกติ 1.6-3.5 เท่า

7.การทำหมัน ทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกหลังทำหมันได้ประมาณร้อยละ 6 และมักเป็นในช่วงหลังจาก 2 ปีหลังการทำหมันไปแล้ว

8.ประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน ก็มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำในท้องถัดไป ได้ร้อยละ 10-25

9.อายุ ในกลุ่มที่อายุมาก (35-44 ปี) มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่ากลุ่มอายุน้อย (15-24 ปี) ถึง 4 เท่า เชื่อว่าอาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อท่อนำไข่ ( myoelectrical ) ทำให้การเคลื่อนไหวบีบตัวของท่อนำไข่ทำงานน้อยลง


Read More

ไขข้อข้องใจ! คุณแม่ผ่าคลอด มีลูกได้กี่คน?

คลอด...ฉากสำคัญของกระบวนการเป็นแม่ที่ผู้หญิงต้องเผชิญ หากจะถามเจ้าตัวว่าเธออยากคลอดเองตามธรรมชาติหรือฝืนธรรมชาติ แบบที่ต้องอาศัยคมมีดผ่าตัด เชื่อว่าส่วนใหญ่ต้องการให้ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลองของธรรมชาติ แม้ว่าใจหนึ่งอดประหวั่นพรั่นพรึงกับสิ่งที่ต้องเผชิญไม่ได้ อย่างเช่น ความเจ็บปวด หรือร้อยแปดพันเก้าที่คนเขาเล่าว่า... มันเป็นช่วงเวลาวิกฤติเจียนตาย

ในยุคหลังๆ ที่ผ่านมา ผู้หญิงเราจึงหันหลังให้ความเจ็บปวดในการคลอดตามธรรมชาติ หันมาเรียกร้องต้องการให้กำเนิดแบบสบายๆ ไร้ความเจ็บปวดด้วยวิธีผ่าคลอดในอัตราสูงขึ้นทุกทีๆ แล้วเลยเถิดไปถึงผ่าคลอดด้วยต้องการกำหนดฤกษ์เกิดให้ลูก ยิ่งมีการเสนอข้อมูลชวนให้คล้อยตามว่า ผ่าคลอดดีกว่าคลอดเอง อ้างอิงถึงความน่ากลัว เสี่ยงอันตรายต่างๆ นานาของการคลอดเองตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สรรเสริญการคลอดด้วยวิธีผ่าตัดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่า ทั้งต่อแม่และลูกน้อยชวนให้เข้าใจว่า การคลอดเองตามธรรมชาติจะทำให้แม่บอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีผลอย่างมากต่อชีวิตเซ็กซ์หลังคลอด (ถึงกับหย่าร้างกันเพราะช่องคลอดหลวม) ลูกน้อยเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจน มีศีรษะเบี้ยว ยาว ปากเบี้ยว กะโหลกร้าว เลือดคั่งในสมอง เกิดความสับสนว่าการคลอดด้วยตัวเองที่ผู้หญิงนับล้านเคยคลอดมาแล้วนั้นมันเสียหายร้ายแรงถึงเพียงนี้หรือ อย่างนี้เปลี่ยนเป็นผ่าตัดคลอดกันทุกคนมิดีกว่าหรือ วันนี้มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการผ่าไม่ผ่า ที่เราได้ยินได้อ่านมา



โดยปกติแล้วคุณแม่ที่ผ่าคลอดบุตรคุณหมอจะแนะนำให้มีลูกแค่ 2 คนเท่านั้น และเว้นช่วงการมีลูกห่างกัน 2 ปี เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนร่างกายและกันเรื่องแผลที่ผ่าจะแยก หรือเรื่องมดลูกจะแตก ดังนั้นหลังผ่าคลอดควรเว้นระยะไปซักนิดถ้าต้องการมีลูกคนต่อไป เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ค่ะ

แต่ในปัจจุบัน คุณแม่ผ่าคลอดบางคน ผ่าคลอดลูก 3-4 คน ก็มีมาแล้ว หรือ บางคนเว้นช่วงยังไม่ถึงปี ก็ตั้งครรภ์คนต่อไปเลยแบบนี้ก็มีค่ะ คุณแม่ผ่าคลอดจะมีลูก 2 คน 3 คน หรือ 4 คน ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด คุณหมอจะดูข้อจำกัดของคุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาแล้ว ดังนี้


  • อายุของคุณแม่มากเกินไปหรือไม่
  • แผลผ่าคลอดครั้งที่แล้ว หนาบางแค่ไหน
  • มีพังผืดที่ท้องมากเกินไปหรือไม่ ถ้ามีมากไม่สมควรผ่าคลอดอีกค่ะ
  • โรคประจำตัวที่อาจจะแทรกซ้อนรุนแรงขณะที่ตั้งครรภ์

ในกรณีคุณแม่ที่ผ่าคลอดแล้วต้องการมีลูกมากกว่า 2 หรือ 3 คนขึ้นไปคุณหมอจะตรวจร่างกายของคุณแม่อย่างละเอียด เช่น ตรวจภายใน ตรวจมดลูก และโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณแม่ผ่าคลอดที่ต้องการมีลูก 3-4 คนขึ้นไปต้องดูแลร่างกายตัวเองให้มากกว่าปกติและทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเท่านั้นค่ะ
Read More

ไขข้อข้องใจ ตุ่มบริเวณลานนมคืออะไร? เกี่ยวอะไรกับยาคุมกำเนิด

ในแถวๆ ลานนมนั้น จะมีต่อมไขมันชนิดพิเศษประกอบอยู่ด้วย เรียกว่าต่อม Montgomery glandโดยมันจะทำหน้าที่ในการสร้างสารที่มีกลิ่นแบบเดียวกับกลิ่นของน้ำคร่ำ เพื่อให้ทารกแรกเกิดได้กลิ่น แล้วตามกลิ่นที่คุ้นเคยมาจนเจอหัวนมได้ในที่สุด เป็นเสมือนแผนที่นำทางของทารกนั่นเอง ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยให้ทารกเรียนรู้ได้ว่าคนไหนเป็นแม่ และเริ่มต้นดูดนมแม่ได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า ทารกเรียนรู้การดูดนมได้ด้วยตัวเอง (self-attachment) หรือ ที่เรียกกันว่า breast crawl 


ตุ่มเหล่านี้จะมีประมาณ 4 – 28 ตุ่ม อาจเพิ่มหรือขยายขนาดได้ ในกรณีได้ฮอร์โมนเพิ่ม เช่น การทานยาคุมกำเนิด หรือช่วงมีประจำเดือน

อาการตุ่มขึ้นแบบนี้ ถือว่าเป็นปกติ ไม่มีอันตราย และไม่เกี่ยวกับมะเร็ง นะครับ แต่หากตุ่มไขมันนี้เกิดการอักเสบ ก็จะทำให้มีอาการปวด บวม แดง เจ็บบริเวณนั้นได้ ก็ไม่มีอันตรายอะไร รักษาเหมือนเป็นผิวหนังอักเสบ ครับ

โดยหากนำทารกแรกเกิดที่ยังไม่เช็ดตัวหรืออาบน้ำ ได้เลียมือตัวเองเพื่อลิ้มชิมรสและได้กลิ่นของน้ำคร่ำ ทารกจะพยายามเคลื่อนที่ตามหากลิ่นที่หลั่งจากต่อม Montgomery ประกอบกับการที่สายตาของทารกแรกเกิดจะมีความสนใจเป็นพิเศษต่อสิ่งที่เป็นวงกลมและเป็นสีดำขาวตัดกัน ซึ่งนั่นก็คือ หัวนมคุณแม่นั่นเอง ในที่สุดทารกแรกเกิดก็จะหาหัวนมคุณแม่ได้เจอ และเริ่มต้นดูดนมได้เอง โดยที่เราไม่ต้องช่วยเลย

สารตัวนี้ช่วยให้ทารกมีความต้องการอยากดูด พฤติกรรมนี้จำเพาะเจาะจงสำหรับสัตว์แต่ละเผ่าพันธุ์ นั่นคือ ทารกคนจะไม่ตอบสนองต่อกลิ่นของแม่วัว

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมา เพื่อสนับสนุนให้ลูกของสัตว์แต่ละชนิดได้ดูดนมแม่ของตัวเองตามสัญชาตญาณ แต่ทว่า กฏเกณฑ์บางอย่างที่คนสร้างขึ้นกลับทำให้สิ่งเหล่านี้สูญหายไป เช่น การแยกแม่ลูกทันทีที่คลอด การนำลูกไปอาบน้ำทำความสะอาดก่อนที่จะให้ลูกได้เริ่มต้นดูดนมแม่ทันที การเสริมนมผงให้ทารกโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เหล่านี้จึงทำให้ การให้นมแม่กลายเป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน และล้มเหลว


ที่มา - นพ. หะสัน มูหาหมัด และ Lakeshore Medical Clinic's
Read More

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

6 ข้อควรปฏิบัติกับลูก ก่อนที่จะ “สายเกินไป”

ลูกไม่ได้เป็นเด็กเล็ก ตลอดไป
บางครั้ง เราเล่นกับลูก โดยเฉพาะช่วงที่เขายังเล็ก
ทุกคนจะทราบดีว่า เราแทบทำอะไรไม่ได้เลย เพราะต้องโดนฉุดมือไปเล่นด้วยตลอด ... บางครั้งก็ ดูเหมือนจะเสียเวลา
.

แต่ช่วงเวลา 1000วันแรก หรือ0-3ขวบ
ยิ่งเป็นช่วงที่เขา ต้องการ ความรัก และ การป้อน การเอาใจใส่ จากเราอย่างหนัก .. พัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปรายวัน รายเดือน
.
.
ถ้าแบ่งเวลาได้ เราควรให้กับลูกให้เต็มที่ได้ใช้ช่วงนี้ .. เชื่อว่า เมื่อพื้นฐานความรักเขาได้รับเต็มที่ เขาจะเติบโตเป็นผู้แบ่งปันที่ดี เคารพตัวเอง และคนรอบข้างได้อย่างมั่นคง
.
.
ใส่ใจ ในเวลาที่ควรใส่ใจ
เพื่อสร้างสายใยที่แนบแน่น
บนพื้นฐานของคำว่า “ครอบครัว” ซึ่งผมเชื่อเสมอว่า พ่อแม่ ก็เป็น”เพื่อนที่เขาสนิทใจ” ได้เช่นกัน

1. กอด และ หอม เขาทุกวัน ... ทำให้ชิน ..ก่อนที่เขาจะไม่กล้าให้เราหอม เมื่อเริ่มโตขึ้น
.
2. สอนเขาด้วยตัวเราเอง ...ก่อนที่สังคมจะมาสั่งสอน
.
3. เป็นที่ปรึกษา เป็นอย่างเพื่อนที่คอยเป็นห่วง มากกว่าที่จะจับผิด ... ก่อนที่เขาจะตัดสินใจไปไว้ใจ คนอื่นนอกบ้าน แทนเรา
.
4. เดินเล่น .. ข้างๆกันทุกวัน ... ก่อนที่เขาจะหันไปเล่นเกมออนไลน์กับเพื่อนในเน็ต
.
5. ทานข้าวพร้อมหน้าพร้อมตา ด้วยกันทุกวัน ... ก่อนที่เขาจะอยากไปทานกับเพื่อนมากกว่า
.
6. ให้ความรักแก่ลูก ..ให้มาก (แต่ไม่ใช่ตามใจและใช้เงิน) ก่อนที่เขาจะรู้สึกว่าเราไม่รักไม่สนใจ และหันไปเติมเต็ม ความรักที่รู้สึกขาดไป ด้วยวิธีอื่นๆที่น่าเป็นห่วง
.

.
.
ที่มา: FB page: เล่นกับลูก
Read More

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

13 สาเหตุที่ทำให้ น้ำนมแม่น้อย

สาเหตุที่ทำให้ ‪#‎น้ำนมน้อย‬ 13 ประการ


1. เสริมนมอื่น ไ่ม่ว่าจะเป็น ‪#‎นมผง‬ หรือนมของแม่คนอื่น ทั้งด้วยวิธีป้อนขวดหรือป้อนแก้ว เพราะทำให้ลูกดูดเบา กระตุ้นน้อย น้ำนมแม่ก็จะน้อยค่ะ
2. เสริมอาหารอื่นก่อน 6 เดือน ทำให้อิ่มและลดการดูดกระตุ้น
3. ไม่ให้ลูกดูดบ่อย (ทุก 2-3 ชม.) แยกแม่ลูก หรือพยายาม "ฝึก" ทั้งที่ไม่จำเป็นและไม่ควรฝึกให้กินนมแม่ตามเวลา ไม่จำเป็นต้องจับเวลา
4. แม่ทานอาหารไม่เพียงพอ อดอาหาร ลดความอ้วนด้วยการอดข้าว
5. แม่ขาดน้ำ
6. แม่เลือดจาง มีผลให้สร้างน้ำนมน้อยได้ คุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองมีภาวะซีดก็ควรทานเม็ดธาตุเหล็กนะคะ
7. แม่ทานยาคุมที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจน
8. ลูกดูดไม่ถูกวิธี อาจมีผังผืดใต้ลิ้น ฯลฯ แม่รู้สึกเจ็บ ลูกฉี่น้อยและสีเข้ม
9. ปล่อยให้เต้าคัดนานๆ ไม่บีบออก
10. ความเครียดของแม่
ทำให้น้ำนมไหลช้า แต่ไม่ถึงกับลดฮ่วบ 11. มี ‪#‎ประจำเดือน‬
เมื่อดูดนมห่างขึ้น ปจด. จะมาไดัค่ะ น้ำนมจะลดเล็กน้อยในช่วงนี้ ให้ดูด/ปั๊มนมตามปกติ น้ำนมจะเพิ่มกลับมาค่ะ 12. ทานสมุนไพร ‪#‎ขับน้ำคาวปลา‬ ยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล
13. ทานยาแก้แพ้ ‪#‎CPM‬ หรือ ยา ‪#‎pseudoephedrine‬ ติดต่อหลายวัน กดารสร้างน้ำนม
13 เป็น unlucky number แต่เนื่องจากนมแม่ไม่ขึ้นอยู่กับโชค ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับตัวและหัวใจของเราล้วนๆ ค่ะ ถ้าลูกฉี่เกิน 6 ครั้งต่อวันแสดงว่าได้น้ำนมพอแล้วนะคะ เดือนแรก ใจต้องสู้ค่ะ รับรองว่าเดือนต่อไปจะง่ายขึ้น ลูกจะยิ้มให้ หายเหนื่อยเลยค่ะ
แล้วแบบไหนเรียกว่า "น้ำนมน้อย"?
"น้ำนมไม่พอ" หลายๆ ครั้งไม่ใช่น้ำนมไม่พอหรอกนะคะ ตัวอย่างเช่น...
ทารกแรกเกิด - 3 เดือน

>> ดูดนมแทบจะตลอดเวลา / ก็เพราะกระเพาะยังเล็ก และลูกก็ยังเคยได้อาหารแทบจะตลอดเวลาเมื่ออยู่ในครรภ์ >> ลูกไม่นอน ตื่นกลางคืน หลับกลางวัน / ก็เพราะลูกเคยดิ้นบ่อยตอนกลางคืน ยังต้องใช้เวลาปรับตัวอีกเป็นเดือนค่ะ >> วางไม่ได้ วางเป็นร้อง / ก็เพราะลูกเคยอยู่ในครรภ์ของแม่ ที่อุ่นและโอบรัดกายตลอด 9 เดือน พอ 1-2 เดือน เริ่มไม่อึเพราะลำไส้ทำงานดีขึ้น >> หรือว่านมไม่พอ? (ไม่ใช่นะคะ) เพราะว่าลูกดูดได้นมส่วนหลังมากขึ้น และลำไส้ก็ทำงานดูดซึมได้ดีมากขึ้นค่ะ พอ 2-3 เดือนเริ่มเจอกำปั้นตัวเอง เอามือเข้าปาก น้ำลายมาก แลบลิ้น >> สงสัยหิว หรือว่านมไม่พอ!? / เพราะฟันน้ำนมซี่แรกใกล้ขึ้นแล้วค่ะ อายุ 3-4 เดือน >> เริ่มตื่นบ่อยตื่นมาร้องจ๊ากๆ / เพราะฟันจะขึ้นตอนกลางคืนเวลาหลับสนิทค่ะ น้องจึงตื่นมางอแง >> บางครั้งดูดนมแม่ซักพักแล้วงอแง ดูดๆ ปล่อยๆ หรือดูดๆ บ่นๆ / เพราะน้ำนมพุ่งแรงค่ะ ให้ปั๊มออกบางส่วนหรือคว่ำหน้าดูด >> หลายครั้งเลย (เศร้า) ที่ลูกดูดนมแม่ไม่เป็น โดนป้อนขวดตั้งแต่ที่รพ. เจอนมแม่แล้วไหลไม่ทันใจ มีน้ำนมค่ะ แต่ต้องแก้ติดจุกนะคะ เห็นไหมคะ นี่เป็นเพียง 1 ประเด็น "น้ำนมไม่พอ" แต่มีสาเหตุเยอะไปหมดที่พร้อมอธิบายได้ว่า ไม่ใช่น้ำนมไม่พอค่ะ และขอบอกว่า สิ่งเดียวที่บ่งบอกว่าลูกได้น้ำนมไม่พอคือ
*** ฉี่ไม่ถึง 6 ครั้งใน 24 ชม. ***
และไม่ใช่เพราะแม่ไม่มีน้ำนมนะคะ แต่เป็นเพราะน้ำนมถูกเอาออกจากเต้าได้น้อย (ต่างกันนะคะ) ด้วยการที่
1) ลูกดูดผิด อมไม่ลึกพอ อุ้มผิดท่า
2) ลูกมีพังผืดใต้ลิ้นทำให้ดูดได้ไม่ดีนัก
3) ลูกนอนยาวไป มื้อนมไม่พอ (ทารกแรกเกิดควรได้ประมาณ 10 มื้อต่อวันค่ะ)
น้อยคนมากๆ ที่ให้ลูกดูดกระตุ้นตลอดแล้วจะ "น้ำนมไม่พอ" (ปัญหาฮอร์โมนผิดปกติซึ่งหายากมากค่ะ) ส่วนใหญ่เป็นเพราะความเข้าใจผิดหรือปฏิบัติผิดทั้งสิ้นค่ะ
Read More

20 ข้อเหล่านี้ แม่ให้นมลูกอยู่ทาน/ทำ ได้หรือไม่

ให้นมลูกอยู่ เหล่านี้ทาน/ทำ ได้หรือไม่?


 1.ยาคุม แนะนำยาคุม exluton ไม่ทำให้น้ำนมลดค่ะ ตามนี้นะคะ >>http://goo.gl/tLh7W

2.ยาลดความอ้วน ไม่แนะนำค่ะ เพราะแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางตัวมีสเตียรอยด์ กดภูมิคุ้มกัน บางตัวทำให้ใจสั่น บางตัวทำให้ถ่ายท้อง บางตัวกระทบน้ำนมทำให้น้ำนมลด บางตัวทำให้เราแพ้ ทำให้ลูกแพ้ได้ค่ะ * ถ้าอยากลดน้ำหนัก แนะนำให้งดของทอด งดน้ำหวาน ลดแป้งมื้อเย็น รับรองเห็นผลภายใน 2-4 อาทิตย์ ผิวพรรณก็จะสวยขึ้นด้วยค่ะ

3. ทำฟัน เข้าคลีนิกทำหน้า ทำฟันได้ค่ะ ฉีดยาชา ถอนฟัน ถอนฟันคุด ขูดหินปูน ทานยาแก้ปวด-ยาปฏิชีวนะได้ (ถ้าจำเป็น) เลเซอร์หน้า ไม่กระทบน้ำนมค่ะ

4 .คอลลาเจน กลูต้า ยาตัวขาวต่างๆ คอลลาเจน มีอยู่ในเนื้อสัตว์ทั่วไปค่ะ การทานเนื้อสัตว์ไม่ทำให้ตัวขาว แต่เราจะได้โปรตีนที่จะร่างกายนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอค่ะ ส่วนกลูต้า ทำให้เม็ดสีไม่ทำงาน ภูมิต้านทานผิวหนังลดลง เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังและตาบอดค่ะ http://blog.eduzones.com/wigi/86667

5 .ยารักษาสิว ไม่แนะนำ ถ้าเป็นยาที่เป็นฮอร์โมนรวม ที่มีเอสโตรเจนและโปรเจสโตรเจน พวกนี้น้ำนมลดฮวบค่ะ ถ้าเป็นยาทารักษาสิว ใช้ได้ค่ะ

6 .ปลาดิบ ทานได้ค่ะ ถ้าสดสะอาด และถ้าลูกเราไม่แพ้ปลาทะเลนะคะ

7 .น้ำเย็น ทานได้ค่ะ ไม่ทำให้น้ำนมลดน้อยแต่อย่างใด

8 .ผัก #ผลไม้ ทานได้ค่ะ สังเกตดูว่าน้องไม่แพ้ บางคนแพ้แอปเปิ้ลและสตรอเบอร์รี่ บางคนแพ้ข้าวโพด (ถ้าแม่ทาน) บางคนแพ้กะทินะคะ

9.ส้มตำ ทานได้นะคะ ขอให้ร้านปรุงใหม่และสะอาด ระวังถั่วลิสงและกุ้งแห้ง เด็กเล็กๆ อาจจะแพ้โปรตีนทำให้ท้องอืดโยเยค่ะ ปลาร้าต้มแล้ว ถ้าลูกไม่แพ้โปรตีน แม่ก็ทานได้ค่ะ ขอให้ปรุงสดสะอาดนะคะ สำคัญที่สุด

 10 ชา กาแฟ น้ำอัดลม ชา-กาแฟ ทานได้เล็กน้อย ถ้าไม่ได้ทานมานาน อาจจะทาน 1/4 ถึง 1/2 แก้วก่อน เพราะคาเฟอีนส่งผลให้ลูกตาค้าง นอนยากขึ้นกว่าปกติค่ะ น้ำอัดลม ทานได้ ไม่ทำให้ลูกท้องอืดค่ะ แต่ไม่แนะนำให้ทานบ่อยๆ เพราะน้ำอัดลมมีค่าเป็นกรด จะดึงแคลเซี่ยมออกจากกระดูก ส่งผลให้กระดูกบาง มวลกระดูกลดลง แถมจะทำให้อ้วน น้ำหนักไม่ลดสักที ติดหนึบอยู่ที่ต้นขาและหน้าท้องค่ะ

11. ทาน รสเผ็ด ได้ สาร capsicin ที่ทำให้เรารู้สึกเผ็ดละลายอยู่ในไขมันของน้ำนมแม่ จึงไม่ไปเกาะที่ปลายประสาทที่ลิ้นลูก ลูกก็จะไม่รู้สึกเผ็ด การที่แม่ทานอาหารรสชาติหลากหลายและจัดจ้าน ทำให้น้ำนมเปลี่ยนรสชาติบ่อยๆ ลูกก็จะเป็นเด็กที่ตอบรับกับอาหารเสริมใหม่ๆ ได้ดีขึ้นค่ะ อันนี้ง่ายวิจัยของฝรั่ง ให้ทานกระเทียมค่ะ กลุ่มที่แม่กินกระเทียม ลูกก็จะกินนมนานขึ้น เหมือนจะอร่อยขึ้นค่ะ

12. ดัดผม #ยืดผม #ทำสีผม ได้ #ทาเล็บ ได้ค่ะ แนะนำให้ใช้น้ำยาที่กลิ่นไม่แรง และระวังอย่าให้สารเคมีเปื้อนที่บริเวณหน้าอกค่ะ

13. ทาน #วิตามินรวม น้ำมันปลา แคลเซี่ยมเม็ด ทานได้ค่ะ แต่ใครที่ท่อน้ำนมตันบ่อยๆ หัวข้อนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ท่อน้ำนมตัน เต้าเป็นก้อนได้ค่ะ

14. ครีมทาผิว บำรุงผิว เครื่องสำอาง ใช้ได้ค่ะ ระวังอย่าให้เนื้อครีมสัมผัสลูกโดยตรง เราไม่แพ้แต่ลูกอาจแพ้ค่ะ

15. ยารักษาโรค ส่วนมากทานได้ค่ะ ตัวยาออกทางน้ำนมน้อยมากเพียง 1% แนะนำให้ตรวจสอบจากเว็บนี้ www.e-lactancia.org

16. วัคซีน และเซรุ่มทุกชนิด แม่ให้นมฉีดวัคซีนและรับเซรุ่มได้เหมือนบุคคลทั่วไปค่ะ

17. แอลกอฮอล & ยาดองเหล้า ไม่ควรทานค่ะ เพราะแอลกอฮอลผ่านทางน้ำนมไปหาลูกได้ ตับของลูกน้อยยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เพิ่มความเสี่ยงภาวะตับวาย

18. ยาชักมดลูก ไม่ควรทานเพราะมีผลให้น้ำนมลดค่ะ

19. ผลไม้รสเปรี้ยว & ผักบางชนิด อันนี้แล้วแต่คน หลายคนแพ้ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ค่ะ สตรอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แม่ทานแล้วลูกอาจแพ้ บางครั้งมีเคสแม่ทานข้าวโพดแล้วลูกแพ้นะคะ รอลูกครบขวบค่อยให้ลองทานค่ะ

20. โปรตีนกลุ่มเสี่ยง (นมเนย-ถั่ว-ไข่-แป้งสาลี-อาหารทะเล) แล้วแต่คนค่ะ สำหรับแม่ท้อง อย่ากระหน่ำทานกลุ่มนี้เพราะโปรตีนเหล่านี้กระตุ้นและเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกในครรภ์แพ้ง่าย สำหรับแม่ให้นม ลองสังเกตดู ถ้าน้องมีอาการแพ้ (ทางผิว/ทางเดินอาหาร/ทางเดินหายใจ) ก็งดทานซักพัก เมื่อลูกโตขึ้น ลำไส้แข็งแรงขึ้น ร่างกายอาจรับโปรตีนเหล่านี้ได้ดีขึ้นค่ะ
ทานให้พอดีๆ ให้ได้สารอาหาร 5 หมู่เพื่อบำรุงร่างกายแม่นะคะ
ช่วงนี้บทความที่กล่าวว่า "คุณค่าและปริมาณ" ขึ้นอยู่กับอาหารของแม่นั้น #ไม่จริงนะคะ คุณค่านมแม่ ดีของมันอยู่แล้วค่ะ
ถามนิดเดียวค่ะ: แม่วัวไม่กินนมวัว แล้วนมวัวจะมีคุณค่าหรือไม่? (ไม่ต้องกินนมวัว เพราะกลไกธรรมชาติจะดึงสารอาหารจากแม่วัวมาผลิตนมวัว แม่วัวก็กินหญ้าตามปกติในปริมาณมากขึ้นค่ะ)
ตามนี้นะจ๊ะ สาวๆ
Read More

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เทคนิคสอนลูกให้ใฝ่เรียนรู้ เริ่มต้นได้ที่บ้าน‬

การปลูกฝังให้ลูกมีความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ จะทำให้ลูกประสบความสำเร็จในการเรียน มีชีวิตที่ดี เจอสิ่งใดที่ยากก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยใจที่เป็นสุข
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกมีความสุขกับการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเล็ก โดยทำได้ดังนี้


 ◆ อ่านหนังสือกับลูกจนเกิดเป็นนิสัย โดยจัดสรรเวลาที่เหมาะสม ชี้ชวน แนะนำ เล่านิทานให้ลูกฟัง แสดงให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่ก็ชอบอ่านหนังสือ

◆ ให้ลูกมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบงานในบ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ลูกทำงานบ้านที่เหมาะสมกับวัย แบ่งสรรงานที่ลูกสามารถทำสำเร็จและปล่อยให้ลูกทำเองได้ เช่น การแต่งตัว การจัดเก็บโต๊ะอาหาร การล้างจาน

◆ ฝึกให้ลูกรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ โดยร่วมกันจัดตารางชีวิตในแต่ละวันว่าจะใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมอย่างไร และเราจะช่วยกันทำเมื่อถึงเวลาที่กำหนด เช่น การพักผ่อน การรับประทานอาหารแต่ละมื้อ การทำงานบ้าน

◆ สอนลูกทำการบ้าน โดยทำความเข้าใจกับลูกว่าการบ้านเป็นความรับผิดชอบของลูกที่จะต้องทำให้เสร็จ แต่พ่อแม่สามารถช่วยลูกทำการบ้านได้ โดยช่วยจัดตารางเวลา แล้วให้ลูกรีบทำการบ้านที่ได้รับมอบหมาย อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน
ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยจัดสถานที่ที่เอื้อต่อการทำการบ้าน ให้มีความสงบ มีแสงสว่างเพียงพอ มีเครื่องเขียนอุปกรณ์พร้อมด้วย

◆ ทำให้การเรียนรู้ในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องสนุก น่าสนใจ มีความท้าทาย ฝึกให้ลูกรู้จักตั้งคำถามและฝึกหาคำตอบในเรื่องต่างๆ รวมถึงฝึกให้ลูกรู้จักแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งสอดแทรกข้อคิด สิ่งที่น่าเรียนรู้ไว้ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ต่อลูกมาก
ที่สำคัญคือ ควรฝึกให้ลูกคิดถึงอนาคตของตัวเอง สิ่งที่ลูกคาดหวังจะสำเร็จได้ด้วยการเริ่มต้นในวันนี้ ลูกจึงควรมีส่วนในการวางแผนอนาคตของตัวเอง และสามารถตัดสินใจในบางเรื่องได้ตั้งแต่ในวัยนี้
เพียงเท่านี้ลูกและเราพ่อแม่ก็จะสนุกและมีความสุขกับการใฝ่เรียนรู้ไปด้วยกัน
Read More

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

3 สิ่งที่ควรทำเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องทิ้งลูกไว้ที่บ้าน

1) อย่าแอบออกไป เพราะจะเพิ่มความกังวลให้ลูกว่าคุณจะแอบออกไปอีก และจะทำให้เขากังวลถึงความเป็นไปได้เช่นนี้เมื่อใดก็ตามที่ไม่เห็นคุณ ควรบอกลูกว่าคุณกำลังจะออกไปข้างนอกก่อนออกไป
.
.
2) จากไปโดยเร็ว อย่าอ้อยอิ่งและพยายามทำให้ลูกสงบ ถ้าคุณเป็นเช่นพ่อแม่หลายคนคุณจะรู้สึกผิดทีเดียวที่ทำให้ลูกไม่สบายใจมาก แต่การกอดหรืออธิบายให้เขาฟังเพิ่มอีกไม่กี่นาทีว่าคุณจะกลับมาโดยเร็วไม่อาจจะบรรเทาความวิตกของเขาได้เลย
.
.
3) จำไว้ว่าการร้องไห้มักหยุดในไม่กี่นาทีหลังจากคุณไปแล้ว และจะกลับมาใหม่เมื่อคุณกลับมา (ครั้งนี้ลูกกำลังลงโทษคุณที่ทิ้งไป) 

เพื่อพิสูจน์ด้วยตัวเอง ครั้งหน้าที่คุณออกไปข้างนอกโดยปล่อยทารกที่กรีดร้องไว้ข้างหลังให้ยืนนอกประตูบ้านที่ปิด คุณอาจคิดว่าการร้องไห้จะดำเนินต่อไม่สิ้นสุด แต่น่าแปลกใจที่การร้องไห้จะหยุดในเวลาไม่นาน
.

.
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากหนังสือ "คัมภีร์การดูแลทารกและเด็กเล็ก ฉบับสมบูรณ์"


Read More

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

ทำได้อย่างไร คุณแม่จึงจะผลิตน้ำนมมากขึ้น

สามารถทำได้ในผู้หญิงทุกคนที่มีต่อมน้ำนม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือ ไม่เคยมีลูกมาก่อนก็ตาม และในบางคนอาจผลิตน้ำนมได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของลูกได้โดยไม่ต้องใช้นมผงเลย




วิธีการ

1.กรณีที่แม่เตรียมรับลูกบุญธรรม หรือ กรณีให้ผู้อื่นอุ้มบุญเนื่องจากไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ เมื่อใกล้คลอดประมาณ 2 สัปดาห์ ให้คุณแม่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์เริ่มกินอาหารกระตุ้นน้ำนม และ/หรือ ยากระตุ้นน้ำนมดอมเพอริโดน (หากไม่มีผลข้างเคียงหรือแพ้ยา) 2 เม็ด ทุก 6 ชม. และ/หรือ ยาประสระน้ำนม , fenugreek , ลูกซัด และให้เริ่มปั๊มนมเพื่อกระตุ้นได้เลย โดยใช้เครื่องปั๊มแบบคู่ ทุก 2-3ชม. ทั้งกลางวัน/กลางคืน (กลางคืนสำคัญมาก โดยเฉพาะเวลา ตี 2-3 เนื่องจากฮอร์โมนหลั่งสูงสุด) ปรับความแรงของเครื่องสูงสุด แต่ไม่แรงเกินไปจนทำให้เจ็บหัวนม ปั๊มแต่ละครั้งนาน 20 นาที (ปั๊มไปด้วย ทำอะไรอย่างอื่นไปด้วย ให้เพลินๆ) หัวใจสำคัญอยู่ที่การกระตุ้นเต้านม ระบายน้ำนมออกบ่อยๆ อย่ารอให้เต้าคัดตึงแล้วจึงค่อยเอาออก เพราะจะทำให้น้ำนมไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร

เมื่อลูกเกิดแล้ว ให้นำลูกมาดูดเต้าเหมือนแม่ที่คลอดลูกปกติ น้ำนมจะมาภายใน 2 สัปดาห์ บางคนมีน้ำนมมาตั้งแต่ลูกยังไม่ได้มาดูดกระตุ้นด้วยซ้ำไป ตั้งแต่ตอนที่ยังใช้เพียงแค่ใช้เครื่องปั๊มกระตุ้น หากน้ำนมยังไม่มา แต่นน.ตัวลูกเริ่มลดลงต่ำกว่า 10 เปอร์เซนต์ของแรกเกิดแล้ว ให้เสริมนมโดยต่อสายพลาสติกเล็กๆสำหรับให้อาหารมาที่หัวนม (lactation aids) เวลาลูกดูด จะได้รับน้ำนมเพิ่มเข้าไปด้วย

หากไม่ให้ลูกดูดเต้าเลย ใช้วิธีปั๊มอย่างเดียว จะผลิตน้ำนมได้ไม่มากเท่ากับรายที่ลูกได้ดูดเต้าด้วย จึงควรให้โอกาสเด็กดูดเต้าให้ได้ หากรพ.ที่คลอดช่วยให้ลูกดูดเต้าไม่ได้ อย่าเพิ่งถอดใจ ตัดสินใจเป็นคุณแม่นักปั๊ม ควรติดต่อคลินิคนมแม่เพื่อเรียนรู้ท่าดูดนมที่ถูกต้อง หรือ ตรวจดูว่า มีพังผืดใต้ลิ้นหรือไม่ เมื่อได้รับการแก้ไขแล้ว การดูดเต้าอาจเป็นเรื่องง่ายเหมือนพลิกฝ่ามือ

2.แม่ที่น้ำนมเริ่มลดลง หรือ เคยให้นม แต่หยุดให้ไป และน้ำนมแห้งไปแล้ว อยากเปลี่ยนใจจะกลับมาให้นมแม่อีก เพราะลูกอาจมีปัญหาแพ้นมผง ไม่สบายบ่อย

หากหยุดไปไม่นาน และแม่ต้องการกลับมาให้ลูกดูดเต้าอีกเพราะหวังผลกระตุ้นอย่างเต็มที่ ก็ใช้วิธีเดียวกับข้อ 1. และหากเป็นไปได้ ควรหยุดการป้อนนมลูกด้วยขวดนม เพราะจะทำให้การกลับมาดูดเต้าเป็นไปได้ยาก ให้เปลี่ยนเป็นการป้อนนมด้วยถ้วย ช้อน ดูดหลอด เป็นต้น

แต่ถ้าทำยังไง ลูกก็ยังไม่ยอมดูดเต้าแล้ว ให้คุณแม่ปั๊มนมอย่างสม่ำเสมอทั้งกลางวัน/กลางคืน ร่วมกับการกระตุ้นจี๊ดที่หัวนม และฝึกบีบเต้าให้เกลี้ยงด้วยมือ ก็จะทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

น้ำนมแม่ที่ผลิตได้ มีคุณสมบัติเหมือนกับน้ำนมแม่ตามปกติ และ การที่แม่ปั๊มนม ถึงแม้ว่าลูกไม่ได้ดูดเต้าโดยตรง ก็ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลายโรคในแม่ด้วยเช่นกัน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุน ฯลฯ

ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกท่านที่กำลังกู้น้ำนม หรือ ผู้มีความต้องการผลิตนมแม่ด้วยความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมค่ะ

คุณแม่กู้น้ำนมโดยใช้เครื่องปั๊มทุก 3 ชม.ทั้งกลางวันกลางคืน โดย 3 สัปดาห์แรก ไม่มีน้ำนมออกมาสักหยด เริ่มได้ติดก้นขวดเมื่อ 21 วัน และได้มากกว่า 3 ออนซ์/วัน เมื่อ 28 วัน ขณะเดียวกันคุณแม่ท่านนี้ก็พยายามให้ลูกฝึกดูดเต้าด้วย ตอนไม่ได้หิวจัดๆ อารมณ์ดีๆ ถ้าดูดแล้วเริ่มหงุดหงิด คุณพยาบาลก็เอาแผ่นแปะหัวนมซิลิโคนมาครอบ หรือ เอาน้ำนมมาหยดล่อที่เต้า เพื่อจูงใจให้ลูกยอมดูดต่อ

อย่าคิดว่า คุ้มกันไหมที่ต้องทุ่มเทขนาดนี้ คุ้มค่าแน่นอนค่ะ เพราะน้ำนมแม่ 1 ซีซี มีเม็ดเลือดขาวตั้ง 1-4 ล้านตัว ได้มาติดก้นขวด เอาหยอดปากลูกเท่ากับลูกได้รับภูมิคุ้มกันชั้นเยี่ยม และ ถ้าลูกยอมกลับมาดูดเต้าได้ด้วย ยิ่งเป็นโบนัสที่ยิ่งใหญ่ น่าดีใจยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่เสียอีก

ที่มา - สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
Read More

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

ลูกน้อยได้อะไรจากการอ่านหนังสือ ?

เราคงคิดว่าลูกจะได้อะไรกับการอ่านหนังสือของพ่อ หรือแม่ในขณะที่อยู่ในครรภ์  เพราะการที่พ่อแม่อ่านหนังสือในขณะที่ลูกยังไม่สามารถสื่อสารกับแม่ได้ถึงแม้จะอยู่ในท้องนั้น  แต่เราควรรับรู้ว่า “การอ่านหนังสือ” คือสิ่งมหัศจรรย์ และจะปลูกฝังลูกให้รักการอ่านได้เป็นอย่างดี 

ภาพประกอบ - http://time.com/3667247/reasons-read-real-book/

เพราะฉะนั้นเรามาพิจารณาสิ่งที่ลูกจะได้จากการอ่านหนังสือของพ่อแม่กันเถอะ

1.    ได้ “ความคุ้นชิน” ในการอ่านนั้นคนที่ชินต่อการอ่าน เมื่อพบเห็นหนังสือทั่วไปอาจหยิบขึ้นมาอ่านด้วยความคุ้นชิน แต่บางคนมักอ่านหนังสือที่ตัวเองสนใจ และชอบเท่านั้น  แต่หากเราปลูกฝังตั้งแต่อยู่ในท้องจะทำให้ลูก “รักที่อ่าน” เมื่อเขาเติบโตมา
2.    ได้ “สมาธิ” เพราะการอ่านต้องใช้สมาธิการอ่านออกเสียง หรือแม้กระทั่งอ่านในใจซึ่งเป็นการเรียกสมาธิได้แตกต่างกัน  บางคนอ่านในใจทำให้เกิดสมาธิได้มาก แต่บางคนการเรียกสมาธิของตนเองผ่านการอ่านออกเสียง เพราะอายตนะจะจดจ่ออยู่กับหนังสือ และการออกเสียง  ลูกน้อยซึ่งอยู่ในครรภ์แม่จึงรับรู้ไปพร้อมๆกับแม่ที่ปฏิบัติการอ่านในขณะนั้น
3.    ได้เข้าใจภาษาที่ถูกต้อง รวมถึงการรวมคำ ผสมคำ  ถึงแม้ลูกน้อยจะยังไม่สามารถทำได้แต่การรับรู้เพื่อเป็นการ “ปลูกฝัง” สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจภาษาได้ง่ายขึ้นหลังจากคลอดออกมา
4.    ช่วยกระตุ้นจินตนาการและความตื่นเต้นให้กับลูก  แม่บางคนอาจมีทักษะในการอ่านที่โด่ดเด่น แตกต่างกันออกไป นอกจากลูกจะได้เรื่องของภาษาแล้ว หากพ่อแม่ที่อ่านหนังสือจินตนาการตามหนังสือที่อ่านจะทำให้ลูกรับรู้ได้ถึงจินตนาการเหล่านั้น ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านจินตนาการได้อีกทางหนึ่งด้วย
เมื่อเห็นประโยชน์อย่างนี้แล้ว เราจะมาเริ่มอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังกันได้หรือยัง...
Read More

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

คุณแม่ควรรู้!! ทำไมต้อง “อ่าน” ตั้งแต่ตั้งครรภ์

หลังจากที่เคยโพสเรื่องหนังสือเล่มแรก...ที่แม่ควรอ่านให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ทั้งหลายอยากรู้มั้ยค่ะว่าทำไมต้อง “อ่าน” ตั้งแต่ตั้งครรภ์  ผลการศึกษาจากงานวิจัยหลายชิ้น สอดคล้องกับความรู้ทางการแพทย์ที่ยืนยันได้ว่า ช่วงเวลาของการเจริญเติบโตทางสมองของมนุษย์นั้นต้องสอดคล้องกันทั้งสมอง จิตวิญญาณ รวมถึงความดีงามซึ่งเราสามารถบ่มเพาะได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์



            มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่ามหัศจรรย์ของ “การอ่าน” สามารถปรับเปลี่ยน วิธีคิด และพฤติกรรมของคนเราได้มาก  จากเด็กที่เป็นเด็กเอาแต่ใจ อารมณ์ร้ายให้กลับมาเป็นเด็กที่มีสมาธิ ร่าเริง แจ่มใส   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้อย่างไม่น่าเชื่อทุกอย่างเหล่านี้ควบรวมถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  เช่นต้นไม้ใบหญ้า สัตว์เลี้ยง สิ่งของ หรือแม้กระทั่งคนรอบข้าง  

            การอ่านตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งที่ปลูกฝังเรื่องของ “รักการอ่าน  และนำไปสู่พัฒนาการทางสมองคนมนุษย์ได้ดี  แม่มือใหม่หลายคนไม่ชอบอ่านหนังสือ ชอบฟังเพลง เล่นเกม หรือดูสารคดี  ซึ่งก็ถือเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการให้แก่ลูกน้อยได้เหมือนกัน  แต่มุมของการอ่านนั้น ถือว่าเราใช้ “อายตนะ” ทั้งภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และภายนอกคือ รูป รส กลิ่น เสียง  ถึงแม้จะใช้อายตนะได้ไม่ครบ แต่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ผ่านอายตนะได้ดี และจะสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย

            พ่อแม่บางคนอาจจะไม่ทันคิดว่าทำไมเราต้องอ่านตั้งแต่อยู่ในครรภ์  เพราะการซึมซัมที่จะมีสมาธิและตั้งใจฟังอะไรๆ  รอบข้างนั้นเริ่มต้นได้จากการอ่าน  ถือว่าการอ่านเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่พ่อแม่ทุกคู่ควรส่งเสริมให้แก่ลูกน้อย  เพราะนั่นคือก้าวแรกของการที่จะพาลูกน้อยให้เรียนรู้ภาษาได้เป็นอย่างดี............
Read More

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

หนังสือเล่มแรก...ที่แม่ควรอ่านให้ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

หนังสือทุกเล่มมีประโยชน์  แต่ใช่ว่าจะให้ประโยชน์ที่เหมือนกันทุกประการ  การอ่านหนังสือนั้นถือเป็นการเรียกสมาธิได้อย่างหนึ่ง  ได้ฝักทั้งทักษะการอ่าน การสะกดคำ และการคิดวิเคราะห์ แต่เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าหนังสือเล่มไหนที่จะอ่านแล้วทำให้ลูกเป็นอย่างที่เราอยากให้เขาเป็นตั้งแต่อยู่ในครรภ์



            “อยากให้เด็กฉลาดด้านไหนควรเลือกหนังสือด้านนั้นให้เด็ก”  ซึ่งการปลูกฝังการอ่านตั้งแต่อยู่ในครรภ์ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการของลูกน้อย  เพราะเมื่อแม่อ่านหนังสือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติคืออารมณ์ร่วมไปกับหนังสือ  เช่นการเลือกหนังสือเพื่อสร้างความสนุกสนาน เมื่อแม่อ่านหนังสือก็จะมีอารมณ์ดี สนุกสนาน ทำให้จิตใจเบิกบานผ่องใส ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ให้รู้สึกเบิกบานสนุกสนานไปด้วยเช่นกัน 

            นอกจากนี้แม่อาจเลือกหนังสือประเภท ธรรมะ หรือบทสวดมนต์  เพราะการอ่านหนังสือประเภทนี้จะทำให้จิตใจเกิดความผ่องใส จิตบริสุทธิ์  รวมไปถึงทำให้รู้จักความดีความชั่ว  แยกแยะถูกผิดได้   ส่งผลให้ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์สามารถซึมซับสิ่งที่แม่สื่อสารทางจิตใจต่อลูกน้อยได้

            หนังสือภาพก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณแม่วัยใสจะสามารถหยิบขึ้นมาเพื่อเป็นหนังสือที่สื่อสารและพัฒนาการสมองของลูกน้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เนื่องจากหนังสือภาพเป็นหนังสือที่ไม่มีคำบรรยายการอ่านหนังสือภาพนั้นต้องอาศัยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  และนั่นทำให้ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองด้านความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกน้อยได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน

            ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่จะเลือกหนังสือประเภทไหนที่จะนำไปสู่พัฒนาการทางสมองให้แก่ลูกน้อย  ซึ่งต่อไปจะมีการนำความรู้เกี่ยวกับการอ่านเพื่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยในช่วง 0 – 6 ปี  และช่วง 6 – 9 ปีกันต่อไป ว่าอ่านอย่างไรจะสามารถ “เปลี่ยน” ลูกน้อยได้……
Read More
loading...