วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลูกสะอึกบ่อยเป็นอันตรายไหม? เกิดจากอะไร? ต้องกินน้ำไหม?

Sponsored Links

อาการสะอึกเกิดจากการหดตัวแบบผิดจังหวะของกล้ามเนื้อกระบังลมที่เป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง (กล้ามเนื้อกระบังลม คือ อวัยวะที่กั้นอยู่ระหว่างปอดกับช่องท้อง ทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ)
.
เด็กทารกมักมีอาการสะอึกบ่อยๆเป็นเรื่องปกติค่ะ มักเป็นตามหลังทานนมอิ่มๆ เนื่องจากกระเพาะ อาหารของเด็กทารกอยู่ชิดกับกล้ามเนื้อกระบังลม เมื่อมีการขยายขนาดของกระเพาะย่อมไปรบกวนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อกระบังลมทำให้มีการสะอึกเกิดขึ้น วิธีทำให้หยุดสะอึกมีหลายวิธี เช่น การอุ้มลูกพาดบ่าเดินไปเดินมาเพื่อเร่งให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น ให้ลูกกลับมาดูดนมแม่ต่ออีกหน่อย หรือการดูดน้ำในกรณีที่เด็กกินนมผง เพราะการดูดจะไปตัดวงจรการสะอึก ทำให้หยุดสะอึกเร็วขึ้น


.
การสะอึกไม่เป็นอันตรายแก่ลูก โดยธรรมชาติแล้วเด็กจะหยุดสะอึกเองได้ (เหมือนการสะอึกเมื่อลูกอยู่ในท้องคุณแม่ ทำให้พุงคุณแม่กระเพื่อมเป็นจังหวะตึ้กๆๆ ไม่ต้องมีใครช่วยให้หยุดสะอึก แต่ลูกหยุดสะอึกได้เอง) อย่างไรก็ดี เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นหลัง 4-5 เดือน จะไม่มีอาการสะอึกบ่อยๆแล้ว หากลูกยังมีอาการสะอึกบ่อยและหยุดสะอึกยาก อาจเป็นอาการบ่งถึงความผิดปกติบางอย่าง เช่น

• ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม เช่น สมองอักเสบ เนื้องอกสมอง การได้รับบาดเจ็บที่สมอง

• ความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้กล้ามเนื้อกระบังลมทำให้มีการรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลม เช่น การเป็นเนื้องอกของอวัยวะบริเวณใกล้กระบังลม ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ การไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารไปที่หลอดอาหาร ภาวะหลอดอาหารอักเสบ

• ความผิดปกติของเคมีในร่างกาย เช่น การได้รับอัลกอฮอลเกินขนาด ภาวะไตวาย

• การมีสิ่งแปลกปลอมหรือแมลงอุดตันในช่องหู

ดังนั้นหากคุณแม่สงสัยว่าลูกมีอาการสะอึกที่อาจเป็นภาวะที่ผิดปกติดังกล่าวข้างต้น สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุการสะอึกที่แท้จริงได้ค่ะ

ข้อมูลจากสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ


EmoticonEmoticon

loading...