วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

น้ำคร่ำมีประโยชน์อย่างไรกับแม่ตั้งครรภ์?

Sponsored Links

ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ลูกน้อยนอนอุ่นๆ อยู่ในท้องคุณแม่นั้น ลูกจะถูกปกป้องจากการกระทบกระเทือนต่างๆ จากภายนอก ด้วยถุงน้ำคร่ำ ที่ในช่วงแรกก่อนที่ลูกจะได้รับสารอาหารต่างๆ ผ่านทางสายสะดือจากคุณแม่ ลูกก็กินน้ำคร่ำเนี่ยแหละค่ะ กินเสร็จก็ถ่ายออกมา หมุนเวียนอยู่อย่างนี้  ...น้ำคร่ำ หรือ Amniotic fluid คือ น้ำที่อยู่รอบๆ ตัวทารกในครรภ์ น้ำคร่ำสร้างเพิ่มขึ้นประมาณวันละ 30-40 มิลลิลิตร (ซีซี) ต่อวัน จนมีปริมาณถึง 4,000 ซีซี ปริมาณน้ำคร่ำจะเริ่มลดลงในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 36 สัปดาห์เป็นต้นไป และลดลงอย่างมากหลังอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ จึงเป็นที่มาว่าทำไมการตั้งครรภ์ไม่ควรให้คลอดเกินอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ จากภาวะน้ำคร่ำน้อยนั่นเอง

น้ำคร่ำมีประโยชน์อย่างไร? 



น้ำคร่ำประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น โซเดียม คลอไรด์ เหล็ก ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของทารก และควบคุมอุณหภูมิของทารก ช่วยเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากแรงกระแทกต่างๆ ที่ผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ และช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวอย่างคล่องตัว เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาการอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อรวมไปถึงข้อ

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ น้ำคร่ำสร้างจากถุงการตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า ถุงแอม เนี่ยน (Amnion) ส่วนในช่วงไตรมาสที่สอง หลังจากระบบขับถ่ายทารกในครรภ์เริ่มพัฒนา(8-11 สัปดาห์) น้ำคร่ำส่วนใหญ่มาจากการถ่ายปัสสาวะของทารกในครรภ์ (Fetal urine) โดยจะสร้างได้ถึงวันละ 700-900 ซีซี ในครรภ์ใกล้ครบกำหนด

น้ำคร่ำหมุนเวียนโดยเมื่อสร้างออกมาอยู่ในถุงน้ำคร่ำแล้ว ทารกก็จะกลืนเข้าไปทางปาก(เริ่มที่ 8-11 สัปดาห์) และดูดซึมโดยลำไส้ นอกจากนี้ยังเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ และดูดซึมโดยเส้นเลือดในถุงลม นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนน้ำคร่ำในส่วนอื่นๆ อีก เช่น ผิวหนังทารกในครรภ์ ถุงหุ้มตัวทารก หรือแม้กระทั่งเส้นเลือดสายสะดือ

ลูกจะได้ประโยชน์จากน่ำคร่ำอย่างต่อเนื่องทั้ง 40 สัปดาห์ คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องของการทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานอาหารที่เป็นโปรตีน เช่น นมถั่วเหลือง ไข่ เนื้อไก่ เนื้อปลา และก็ต้องดื่มน้ำให้มากด้วยนะคะที่สำคัญต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอด้วย




EmoticonEmoticon

loading...