วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

อารมณ์ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างไร

Sponsored Links

สมองของทารกในครรภ์ อาจสามารถรับรู้สภาพอารมณ์ของว่าที่คุณแม่ในช่วงต่างๆ ได้และด้วยเหตุนี้เองที่อารมณ์ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตหลังคลอดออกมา

อยากให้ลูกแข็งแรง มีความสุข ฉลาด อารมณ์ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ หากรอให้คลอดก่อนแล้วค่อยสร้างอาจจะช้าเกินไปค่ะ เพราะนับตั้งแต่วินาทีแรกที่ลูกน้อยปฏิสนธิขึ้นในครรภ์ของคุณ หัวใจดวงเล็กๆ ก็เริ่มทำงาน เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาไปเป็นร่างน้อยๆ ของลูก ฉะนั้น หากคุณต้องการสร้างลูกให้แข็งแรงร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาแล้วล่ะก็ ต้องเริ่มตั้งแต่วันแรกที่คุณรู้ตัวว่าตั้งครรภ์



ซึ่งนอกเหนือไปจากเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว เรื่องอารมณ์ของคุณแม่ก็มีผลต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วง 1000 วันแรกนับตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงลูกอายุครบ 2 ปี สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ จะส่งผลต่อชีวิตของลูกแทบทุกด้านไปจนตลอดชีวิต ฉะนั้นหากต้องการให้ลูกมีสภาพจิตใจที่ดีไปจนเติบใหญ่ ว่าที่คุณแม่ก็ต้องดูแลสภาพจิตใจและอารมณ์ของตนเองนับตั้งแต่วันนี้

อารมณ์ของแม่ท้อง กับสมองลูกในครรภ์

มีการศึกษาที่พบว่าสมองของทารกในครรภ์ อาจสามารถรับรู้สภาพอารมณ์ของว่าที่คุณแม่ในช่วงต่างๆ ได้ และด้วยเหตุนี้เองที่อารมณ์ของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตหลังคลอดออกมา

โดยการศึกษาที่ทำโดยนักวิจัยจาก คณะ psychiatry and human behavior มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ระบุว่าทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีสภาพอารมณ์คงที่ ทำคะแนนการทดสอบด้านจิตใจและการเคลื่อนไหวได้ดีกว่า ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีอารมณ์แปรปรวนขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะจากมีควมสุขเป็นซึมเศร้า หรือจากซึมเศร้าเป็นมีความสุข ทารกจะทำคะแนนการทดสอบด้านต่างๆ ได้น้อยกว่า

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาว่าที่คุณแม่จำนวน 221 ราย และติดตามผลทารกหลังคลอดจนกระทั่งอายุ 1 ปี พบว่าเมื่ออายุ 6 เดือน ทารกที่คลอดจากคุณแม่ที่มีสภาพอารมณ์คงที่ (ไม่ว่าจะซึมเศร้า หรือไม่ซึมเศร้า) จะทำการทดสอบพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจได้ดีกว่า หนูน้อยที่คลอดจากคุณแม่ที่มีอารมณ์แปรปรวนในขณะและหลังตั้งครรภ์ เมื่ออายุครบ 1 ปี ทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีอารมณ์คงที่ ทำคะแนนทดสอบพัฒนาการทางจิตใจได้ดีกว่า ขณะที่คะแนนทดสอบด้านพัฒนาการทางร่างกายนั้นไม่พบความแตกต่าง

จะเห็นได้ว่า....
สภาพอารมณ์ของคุณแม่ส่งผลต่อจิตใจของลูกในระยะยาว ที่เป็นเช่นนี้นักวิจัยระบุว่า เพราะทารกในครรภ์มีบทบาทสำคัญอย่างมากที่จะกำหนดพัฒนาการด้านต่างๆ ของตัวเอง เมื่อคลอดออกมา หนูน้อยจะตอบสนองโลกภายนอกตามสิ่งที่เขาสัมผัสได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ กล่าวคือ หากแม่ท้องมีสภาพอารมณ์แปรปรวนอยู่เสมอ ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กหงุดหงิดง่าย ปรับตัวยาก งอแง เป็นต้น




EmoticonEmoticon

loading...