วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

9 สาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก

Sponsored Links

1.ประวัติเคยเป็นโรคปีกมดลูกอักเสบมาก่อน (Pelvic inflammatory disease: PID) ซึ่งการติดเชื้อทำให้เกิด การทำลายสภาพปกติของท่อนำไข่ ซึ่งเป็นที่เดินทางของไข่  ซึ่งปกติภายในท่อนำไข่จะมี เซลล์ ที่คล้ายนิ้วมือเล็ก ๆ (Cilia) คอยโบกให้ตัวอ่อนเคลื่อนตัวเข้าไปสู่โพรงมดลูก เมื่อเซลล์เหล่านี้เสียหายก็ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเคลื่อนที่ไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด



2.ภาวะมีบุตรยาก และการกระตุ้นการตกไข่ด้วยฮอร์โมนในปริมาณสูงๆ มีโอกาสเกิดท้องนอกมดลูกได้สูงกว่าคนปกติถึง 4 เท่า นอกจากนี้ในกลุ่มผู้มีบุตรยากมักมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ซึ่งมักทำให้เกิดพังผืดบริเวณท่อนำไข่ ทำให้ท่อนำไข่ผิดรูป และตีบตันได้

3.การใช้ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine device: IUD) โอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกประมาณร้อยละ 3-4 โดยห่วงอนามัยชนิดที่มีทองแดงมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกน้อยกว่าห่วงชนิดอื่นๆ เพราะกลไกของห่วงอนามัยสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ภายในโพรงมดลูกเท่านั้น


4.การเคยได้รับสารกลุ่ม diethylstilbestrol(DES) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง หรือ เอสโตรเจน (Estrogen)ในระดับสูงๆ ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่าคนปกติ 3-5 เท่า ปัจจุบันยานี้เลิกใช้ไปแล้ว แต่พบว่าการที่ผู้หญิงบางคน ได้รับยาคุมกำเนิดชนิดหลังร่วมเพศ ซึ่งมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงๆ  ก็มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้สูงขึ้นเช่นกัน

5.การผ่าตัดบริเวณท่อนำไข่ การขูดมดลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดพังผืดหลังผ่าตัด รบกวนการเดินทางของไข่

6.การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดตั้งครรภ์นอกมดลูกมากกว่าคนปกติ 1.6-3.5 เท่า

7.การทำหมัน ทำให้เกิดการท้องนอกมดลูกหลังทำหมันได้ประมาณร้อยละ 6 และมักเป็นในช่วงหลังจาก 2 ปีหลังการทำหมันไปแล้ว

8.ประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน ก็มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำในท้องถัดไป ได้ร้อยละ 10-25

9.อายุ ในกลุ่มที่อายุมาก (35-44 ปี) มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่ากลุ่มอายุน้อย (15-24 ปี) ถึง 4 เท่า เชื่อว่าอาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อท่อนำไข่ ( myoelectrical ) ทำให้การเคลื่อนไหวบีบตัวของท่อนำไข่ทำงานน้อยลง



EmoticonEmoticon

loading...